วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

มาเพาะ เลี้ยง ไรแดง กันเถอะ

มาเพาะ เลี้ยง ไรแดง กันเถอะ

ผมขอเสนอด้วย 3 วิธีง่ายๆ ดังนี้ครับ.

- การเพาะไรแดงด้วยเศษฟาง, หญ้าแห้ง และปุ๋ยคอก
วิธีการเพาะไรแดงด้วยวิธีนี้ก็คือ ให้นำเอาฟางหรือ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ ห่อด้วยมุ้งเขียวหรือจะใช้แสลนก็ได้ เอาแช่ลงในน้ำ แล้วหมักเอาไว้ พอน้ำเริ่มบูดก็จะมี ตัวจุลินทรีย์ต่างๆ เกิดขึ้น เราจึงเติมเชื้อไรแดง( พ่อแม่ไรแดงตัวเป็นๆ นี่แหละครับ ) ไรแดงก็จะกินจุลทรีย์เหล่านั้นเป็นอาหาร พออาหารเหล่า นั้น เจือจางลงเราก็เอาหญ้าลงไปแช่อีกทำวนเวียนอยู่อย่างน ี้ แต่ต้องจำว่าไม่ต้องแช่ครั้งละมากๆ จนกระทั่ง น้ำบูดกลายเป็นฝ้า เพราะถ้าน้ำข้างบนบูดเน่ามีฝ้าจับอยู่ อ๊อกซิเจนจะลงไปข้างล่างไม่ได้ เมื่อไม่มีอ๊อกซิเจนไรแดงก็จะตาย
เราควรเลือกพ่อแม่ไรแดงที่ตัวแดงๆใหญ่ๆ เพราะจะสามารถให้ลูกกับเราได้เร็วขึ้นและมากขึ้น
เราสามารถใช้เศษอินทรีย์วัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยกทม. เศษพืช เศษฟางต่างๆ ลงไปแช่ในน้ำ จะทำให้สามารถผลิตไรแดงได้ตลอดเวลา.

- การเพาะไรแดงในกาลามัง
เตรียมกาละมังหรือถังซักใบ ใส่น้ำลงไปครึ่งนึงก่อน แล้วเด็ดใบผักบุ้งมาซักกำ เอาแบบกะว่าน้ำไม่เน่ามาก ขยี้ให้เละใส่น้ำแล้วกรองเอาใยก้านออก จะได้น้ำเขียวๆ เทใส่ลงไปในกาละมัง แล้วใส่ต้นผักบุ้งที่มีรากไปซักหน่อย จากนั้นก็ไปขอใช้บริการจากปลาที่เราเลี้ยงๆ กัน เปลี่ยนน้ำเอาขี้ปลากับน้ำเก่ามาใส่ในกาละมังแล้วนำไ ปตั้งไว้กลางแดด
วันรุ่งขึ้นมาดูถ้าน้ำทำท่าจะเน่าให้เติมน้ำถ้าไม่เน ่าก็ใส่เชื้อไรแดง (พ่อแม่ไรแดงตัวแดงๆ ใหญ่ๆ) ได้เลย ประมาณ 2-3 วันจะใช้ได้ แต่ถ้าคอยเติมน้ำสะอาดกับใบผักบุ้งก็ได้เรื่อยๆ จะสังเกตุว่าแดดแรงๆ จะได้เยอะขึ้น แล้วก็กาละมังยิ่งกว้างก็ยิ่งจะได้เยอะ เพื่อนๆสมาชิก ลองนำไปทดลองทำดูนะครับ

- การเพาะไรแดงตามสูตรของกรมประมง

ขั้นตอนที่1 การเตรียมบ่อผลิต
สถานที่ตั้งของบ่อซีเมนต์หรือบ่อดินจะต้องตั้งอยู่กล างแจ้ง ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน ถ้าเป็นบ่อที่สร้างขึ้นใหม่ควรกำจัดฤทธิ์ของปูนโดยล้ างบ่อให้สะอาด โดยแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-3 สัปดาห์ แล้วระบายน้ำทิ้ง ถ้าต้องการลดระยะเวลาให้ใช้เศษฟางหญ้า กรดน้ำส้มเทียม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 วันแล้วระบายน้ำทิ้ง และเปิดน้ำใหม่แช่ทิ้งไว้อีก 24 ชั่วโมง ส่วนบ่อกรองเก่าต้องล้างบ่อตากให้แห้ง เพื่อกำจัดศัตรูของไรแดง

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำ

ระบายน้ำเข้าบ่อโดยผ่านการกรองด้วยผ้ากรองขนาด 69 ไมครอน จะช่วยป้องกันศัตรูไรแดง และคัดขนาดของแพลงก์ตอนพืชที่ติดมากับน้ำและเป็นอาหา รไรแดงต่อไป ระดับน้ำที่ใช้นั้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร

ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมอาหาร
อาหารของไรแดงที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไรแดงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. อาหารผสม ได้แก่ รำละเอียด ปลาป่น และกากถั่วเหลือง โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองจะมีกรดไขมันที่เร่งการลอกคราบ ของไรแดงได้ดี
2. จุลินทรีย์ เป็นอาหารที่ได้จากการหมักอาหารกับน้ำ ได้แก่ ยีสต์ และแบคทีเรีย สำหรับยีสต์จะมีวิตามินอี ซึ่งช่วยในการทำงานของระบบสืบพันธุ์
3. น้ำเขียว เป็นอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืชชนิดที่เป็นอาหารของไรแดง เช่น คลอเรลล่าซีเนเดสมัส ซึ่งทำให้ไรแดงสมบูรณ์ จึงมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมพันธุ์ไรแดง
การเพาะเลี้ยงไรแดงให้ได้ปริมาณมากจำเป็นต้องใช้แม่พ ันธุ์ที่มีชีวิตสมบูรณ์และแข็งแรง รูปร่างอ้วนกลม ใช้ในอัตรา 30-40 กรัมต่อตารางเมตร

ขั้นตอนที่ 5 ควบคุมบ่อผลิต
การคงสภาพของบ่อที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ไรแดงนั้นเป็นส ิ่งจำเป็น และสามารถจะเก็บผลผลิตได้มากกว่า 7 วัน มีขั้นตอนดังนี้

1. เก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงวันละครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งห มด
2. เติมอาหารที่หมักแล้ว 10-25 เปอร์เซนต์ของครั้งแรกทุกวัน
3. ควรระบายน้ำออกและเติมน้ำเข้าทุก 5-7 วัน ระดับ 5-15 เซนติเมตรต่อครั้ง

วิธีเพาะเลี้ยงไรแดง
1. ทำความสะอาดบ่อ และตากบ่อให้แห้ง ทิ้งไว้ 1 วัน (ใช้บ่อขนาด 50 ตารางเมตร)
2. เปิดน้ำและกรองลงบ่อให้ได้ระดับความสูง 20 เซนติเมตร พร้อมทั้งละลายปุ๋ย และอาหารลง ในบ่อโดยใช้สูตรอาหารดังนี้คือ

อามิอามิ (กากผงชูรส) 5 ลิตร
ปุ๋ยนา (16-20-0) 2 กิโลกรัม
รำ 5 กิโลกรัม
ปูนขาว 3 กิโลกรัม

3. เติมน้ำเขียวลงในบ่อประมาณ 1 ตัน (1,000 ลิตร) หรือให้มีความสูงจากระดับน้ำเดิม 20 ซม. ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ควรคนบ่อย เพื่อป้องกันการเกิดตะกอน
4. เติมเชื้อไรแดงประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม และให้อากาศออกซิเจนในน้ำ ทิ้งไว้ 3 วัน ไรแดง จะขยายพันธุ์ขึ้นเต็มที่และสามารถเก็บไรแดงขึ้นมาได้ เลยครับ.

บทความนี้ได้คัดลอก/ดัดแปลง และนำมาจาก www.Kapank.com ครับ

ลองนำไปทดสอบทดลองกันดูนะครับ ใช้ได้ไม่ได้ยังไงแจ้งผลให้สมาชิกท่านอื่นๆทราบด้วยน ะครับ.
ขอบคุณเจ้าของบทความมากๆครับ..

จากคุณ Enormal

การเพาะไรแดงของผมนะครับ Enormal สุราษฎร์ ฯ

ผมไม่มีเทคนิคหรือเคล็ดลับอะไรหรอกครับ ทำไปเรื่อย จอปัญหาไปเรื่อย แก้กันไปเรื่อย

อุปกรณ์ ก็มีดังนี้
1. บ่อซีเมนต์ 2*5 เมตร จำนวน 6 บ่อ (จริง ๆ แล้ว 5 บ่อก็พอ แต่เพื่อความแน่นอนผมใช้ 6 บ่อ) บ่อลาดเอียงมาที่จุดถ่ายน้ำเปิดบ่อพอสมควร ก็เหมือนที่กรมประมง ทั่ว ๆ ไปนั้นแหละครับ ใช้ท่อ 2 นิ้วครึ่ง ในการระบายน้ำ ขนาดท่อกำลังดี เพื่อความรวดเร็วในการเปิดบ่อ มีรางน้ำเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำ
2. ปั้มลม resun LP 60 1 ตัว เดินท่อ PVC 4 หุน หัวทรายขนาดประมาณ 15 บาท บ่อละ 2 หัว
3. ผ้าขาวบาง 1 ผืน
4. กะละมัง 4-5 ใบ หย่อนหัวทราย ทุกกะละมัง เตรียมใส่ไรแดงหลังการเก็บเกี่ยวครับ
5. ปั้มน้ำตัวเล็ก ๆ แบบปั้มแช่ สักตัวละ 1,000 ต้น ก็ใช้ได้แล้ว ใช้ในการดึงน้ำเขียว วันละ 5 CM ทุกวัน
6. ระบบน้ำ ระบบไฟ ก็เอาพอใช้งานง่ายครับ

ส่วนผสมที่ผมใช้ เหมือนกรมประมงทุกประการ
1. ปุ๋ยนา 16-20-0 (ผมใช้ ตรา รุ่งอรุณ) ใช้ประมาณ ครึ่งกิโล / บ่อ 2*5 M
2. ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ตราอื่นก็ได้ เท่ากับปุ่ยนา
3. อามิ อามิ หรือกากผงชูรส ประมาณ 1 ลิตร / บ่อ 2*5 M
4. ปูนขาว ก็ปูนขาวที่เค้าใช้ในนากุ้งทั่วไป 1 กิโล / บ่อ 2*5 M
5. น้ำ ก็เป็นน้ำบ่อที่บ้านครับ น้ำรวมเบ็ตเสร้จในการเตรียมบ่อทำน้ำเขียว ประมาณ 20 CM (น้ำเปล่า 15 CM หัวเชื้อ 5 CM
6. น้ำเขียว ก็ดึงมาจาก บ่อที่อาหารละลายได้ที่แล้ว เตรียมใส่เชื้อไรแดงได้แล้ว ดึงมาประมาณ 5 CM

ขั้นตอนการทำ
ลงมือเลยนะครับ

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากดึงน้ำเขียวจากบ่อที่อาหารละลายได้ที่แล้ว เขียวดีแล้ว มาเป็นหัวเชื้อในบ่อที่เราเตรียมบ่อใหม่ ประมาณ 5 CM ต่อบ่อ 2*5 M ( ในกรณีนี้หมายถึงเราทำน้ำเขียวได้ 1 บ่อแล้ว เราสามารถดึงมาเป้นหัวเชื้อได้ แต่ในกรณีที่เราเริ่มทำใหม่ เราก็ต้องทำด้วยน้ำเปล่า ๆ และส่วนผสมที่ผมบอกไว้ทั้งหมด )

ขั้นตอนที่ 2 หลังจากที่เรา ดึงน้ำเขียวมาเตรียมบ่อ 5 CM แล้ว ก็จัดการเติมน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน พร้อมด้วยส่วนผสม ที่ผมกล่าวไปนั้น จนได้น้ำรวม 20 CM / บ่อ 2*5 M

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อทำทั้ง 2 ขั้นตอนนั้นเสร็จ เปิดอ๊อกทิ้งไว้ประมาณ 4 คืน ก็สามารถใส่เชื้อไรแดงได้เลย
แต่ในตอนเย็น ก่อนคืนที่ 4 เราต้องดึงน้ำเขียวออกไปเตรียมบ่อใหม่ 5 CM เท่ากับว่าเหลือน้ำเขียวทั้งหมดในตอนนี้ 15 CM เข้าใจมั้ยครับ หลังจากนั้นเติมน้ำสะอาดไปอีกประมาณ 10 CM ในขณะนี้มีน้ำทั้งหมดในบ่อ 25 CM แล้วนะครับ ทั้งไว้ 1 คืน รวมเป็น 4 คืน ช่วงเช้าเราก็ปล่อยเชื้อไรแดงได้เลย เชื้อไรแดงก็เอามาจากบ่อที่เราเปิดที่ทำไว้ก่อน ( ในกรณีที่มีการทำไรแดงในบ่อก่อนหน้านี้อยู่แล้ว )

ขั้นตอนที่ 4 หลังจากที่ เติมเชื้อไรแดงไปแล้วนั้น ทั้งไว้ 2 คืน ก็เก็บเกี่ยวได้เลย ตัวไรแดงที่ได้ของผมในตอนนี้ ก็ประมาณ 4-5 เท่าตัวที่ได้เติมเชื้อได้แดงไป ขึ้นอยู่กับฤดูกาลนะครับ ไม่แน่นอน แต่อยู่ประมาณนั้นแหละ ในกรณีของผม ผมเติมเชื้อประมาณ ครึ่งกิโล ก็ได้ประมาณ 2 - 2.5 กิโล ประมาณเอานะ มะเคยชั่งแบบจริง ๆ หลังเปิดบ่อเสร็จล้างให้สะอาด เปิดบ่อทั้งไว้ 1 วันนะครับ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อในบ่อ

ค่าใช้จ่าย ต่อวัน
1. ปุ๋ยนา ครึ่งกิโล ประมาณ 10 บาท
2. ปุ๋ยยูเรีย ครึ่งกิโล ประมาณ 10 บาท
3. อามิ 1 ลิตร 10 บาท
4. ปูนขาย 1 กิโล 2 บาท
5. ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอื่น ๆ 28 บาท
รวมค่าใช้จ่ายที่ผมต้องเสียไปต่อวัน ต่อบ่อ 2*5 M 60 บาท

รายได้จากการขายไรแดง
ขึ้นอยุ่กับลูกค้าครับ บางวันก็เยอะ บางวันก็น้อย เพราะผมขายปลีก ไม่ได้ขายส่ง เลยไม่มีการผูกมัดกับใครแบบแน่นอน

สรุป
1. ผมมีไรแดงให้ปลากินทั้งบ้าน อิ่ม และมากพอสมควร ความแน่นอนและคงที่ก็พอประมาณ ไม่ 100%
2. ผมจำหน่ายปลีก เป็นช้อน ช้อนโอโม่ ช้อนแป็บ เขียว ๆ นั้นแหละครับ เนื้อ ๆ นะครับ ช้อนละ 20 บาท
แพงไปมั้ย หรือถูกไป ช่วยวิจารณ์หน่อยครับ ทำไงได้ละผมขายปลีกมะใช่ขายส่งนี่...เหอะ ๆ
3. ปัญหาของไรแดงมีเยอะมาก ถ้าจอปัญหาถึงกับเครียดเลยแหละ เช่น บางที่ใส่แล้วตัวตายที่ ที่ก้อนบ่อ ก็ มีน้ำเขียวช้าก็มี มีเรื่อยแหละครับ แก้กันไปเรื่อย
4. ผมต้องทำอย่างนี้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการคับ ช่วงเช้า ก็เปิดบ่อเก็บเกี่ยว ช่วงเย็น ก็เตรียมบ่อ คือเริ่มทำน้ำเขียวใหม่นั้นเอง
5. เพื่อน ๆ พี่ คนใด สงสัยอะไรตรงไหน สอบถามผมมาได้เลยครับ ผมจะเข้ามาตอบให้ครับ บางที ผมอาจจะให้รายละเอียดไปไม่ครบ หรือว่า พี่ ๆ อ่านแล้วงง ถามได้เลยครับ ขอบคุณครับ


Enormal สุราษฎร์
คนโง่ มองทางออก มีปัญหา
คนฉลาด มองปัญหา มีทางออก

ไม่มีความคิดเห็น: