วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาแรดแบบต่างๆ

การเลี้ยงปลาแรด


การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง
แหล่งกำเนิด

ปลาแรดมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ปลาเม่น” มีถิ่นกำเนิดในประเทศ อินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่อง จากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และเลี้ยงงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การ เลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัด อุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การ เพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภค อย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์
ลักษณะโดยทั่วไปปลาแรด
อุปนิสัย

ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้นๆในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ เป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่าย โดยวิธีการ ให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทน เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานๆเพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการ หายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อนๆอยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ
รูปร่าง
ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัดปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อ แต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป
การเลี้ยงปลาแรดแบบต่างๆ
วิธีการและขั้นตอนการเลี้ยงปลาแรด

1.การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อ ที่ใช้เลี้ยง 1-5 ไร่ จะใช้เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยง ปลาแรดในบ่อ จะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืชอื่นๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำ หรือวัชพืชขึ้นเพื่อให้ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว ปลาแรดชอบ กินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว แมลงใน น้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวกเป็นอาหาร การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงามนิยม เลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรด สามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้ แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้าง ช้า นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว ยังนิยมเลี้ยงในกระชัง เช่น ที่แม่น้ำสะแก กรับ จังหวัดอุทัยธานี
2.การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง การเลี้ยงปลาแรดในการชังได้รับความนิยม มากขึ้นโดยการเปลี่ยนจากกระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะ ปัจจุบัน ซึ่งขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง ดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลา ในกระชังจะต้องสร้างแพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวม กัน และเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไป ผูก กระชังตาข่างกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร กระชังขนาดดังกล่าว สามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้วได้ 3,000 ตัว การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง และ ซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000 บาท
โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงปลา
1.โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี.ซี
2.ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รอง รับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทีลิน หรือวัสดุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง
3.ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฏิบัติงานบนกระชัง
บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดี น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยงปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นนไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคปลา
ข้อจำกัดของการเลี้ยงปลา
1.สภาพแวดล้อม ในบริเวณที่ ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำ ต้องดีมีปริมาณออกซิเจนพอเพียง กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะและไม่เกิดปัญหา โรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยง สถานที่ตึงกระชังควรอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือคลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
2.ปลาที่ปล่อยเลี้ยง ควรมี ขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็ก หรือเท่ากับขนาดของช่องกระชัง ปลาจะลอดหนีจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้
3.ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อมๆ กันในทันทีที่ให้อาหาร เพื่อให้ปลากินอาหารให้มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไป นอกกระชัง
4.ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิดปัญหากับปลาที่เลี้ยง ยากต่อการแก้ไป หากประสบปัญหาดังกล่าวควรย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น
การป้องกัน
ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาตัวปลามีกลิ่นโคลน แต่ถ้าเลี้ยงในกระชังจะไม่มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากน้ำจะถ่ายเทตลอดเวลา สำหรับการแก้ไขกลิ่นเหม็นโคลนในเนื้อปลา โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมทั้งควบคุมคุณภาพน้ำและอาหารที่เลี้งปลาในช่วงก่อนจัง ประมาณ 3 วัน
อัตราการปล่อย
จากการทดลองของสมประสงศ์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว/ตารางเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด และให้ผลกำไรมาก คือ เลี้ยงบ่อขนาด 400 ตารางเมตร ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาท ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือนเท่านั้น
การสืบพันธุ์
ลักษณะเพศ ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะเห็นได้ชัด ก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ คือ ตัวผู้จะมีนอ ที่หัวของมันโหนกสูงขึ้นจน เห็นได้ชัด ส่วนตัวเมียจะมีโหนกไม่สูงและที่ใต้ฐานของครีบอกตัวเมียจะมีจุด สีดำ แต่ตัวผู้จะมีแต้มสีขาว ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ปลาตัวผู้จะโตกว่าปลา ตัวเมีย ปลาแรดจะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2-3 ปี น้ำหนัก ประมาณ 2-4 กิโลกรัม แม่ปลาขนาด 3 กิโลกลัมจะมีไข่ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลา ตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง/ปี
การเพาะพันธุ์ปลา
ปลาแรดสามารถวางไข่ได้ตลอดปี แต่จะมีไข่สูงในช่วง 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่ ขนาดรังโดยทั่วๆ ไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 สัปดาห์ การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติในบ่อดิน บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ 1-2 ไร่ อัตราการปล่อยปลาตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:2 จำนวน 100-150 คู่/ไร่ แม่ปลาขนาด 3 กิโลกัรมจะมีไข่ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์นั้น ควรเป็นบริเวณพื้นบ่อที่มีสภาพเป็นโคลน ให้มีหญ้าและพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาสักหน่อย พร้อมทั้งหากิ่งไผ่ให้จมอยู่ในน้ำเพื่อใช้เป็นที่สร้างรังพ่อแม่ปลา จะคอยระวังรัาษาลูกอ่อนอยู่ใกล้ๆ รังและจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูที่มารบกวนอย่างเต็มที่ หรืออาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำแม่น้ำที่ไม่ไหล เชี่ยวมาก ใช้เพาะปลาแรดเช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ
การฟักไข่ ไข่ปลาแรดเป็น ประเภทไข่ลอย (มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร) เมื่อปลาแรดวางไข่แล้วนำรังที่มีไข่ขึ้นมาแล้วคัดเฉพาะไข่ดี ควรช้อนคราบไขมันออกมิฉะนั้นแล้วจะทำให้น้ำเสียและปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจานั้นรวบรวมไข่ใส่ถังส้วมทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 เซนติเมตร ให้เครื่องเป่าอากาศเบาๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ หรือฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักในการชังผ้าโอล่อนแก้ว กระชังมีรูปร่างสี่เหลี่ยมขนาด 2x1x0.5 ใช้หูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระปังดึงคงรูปอยู่ได้ ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในการชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ ออกได้มากที่สุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และยึดติดกับพืชน้ำ ลูกปลาจะเริ่มกินอาหารในวันที่ 5-7 โดยให้ไข่ชง อายุ 7-10 วันให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ ช่วงที่ให้ไข่เป็นอาหารควรให้ทีละน้อยในบริเวณที่ลูกปลารวมเป็นกลุ่ม อายุ 10-15 วัน จึงให้ไรแดง ลูกปลาแรดจะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย เมื่ออายุได้ 4 เดือน
การอนุบาล
บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา 100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนซ์ 5 ตัว/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน 1:3 สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้มหรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละประมาณ 3-5 เปอร์เซนต์ อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เดือนที่จะมีความยาว 2-3 เซนติเมตร ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป
ลูกปลาแรดขนาดประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดโตและปลาสวยงาม ราคาตัวละ 3-4 บาท
โรคและศัตรู
โรคปลา การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฎว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือ เชื้อรา
ศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น
อาหารและการให้อาหาร
ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพึชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังขนาดเล็กชอบ กินอาหารพวกสัตว์เล็กๆ ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัว หนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง แหนจอก ผัก กระเฉด ใบมันเทศ ส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้า อ่อน นอกจากนี้ให้อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้ง คราว ก็ให้ผลการเจริญเติบโตดี ปลาแรดชอบมาก เหมาะสำหรับการขุน อัตราส่วน อาหารสำเร็จสำหรับปลากินพืช โดยมีอาหารโปรตีนอย่างน้อย 18-25%

ไม่มีความคิดเห็น: