วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

เลี้ยงปลาแรด

การเพาะเลี้ยงปลาแรด
คำนำ
                     
    ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus guramy Lacepede) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง พบมีน้ำ หนัก 6-7 กิโลกรัม มีความยาวถึง 65 เซนติเมตร เป็นจำพวกเดียวกับปลากระดี่ ปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่าปลาแรดมีเนื้อนุ่ม สีเหลืองอ่อน และรสชาติดีจึง ได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ ลาบปลา และ น้ำยาฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นหลาจานในภัตตาคารต่างๆ ทั้งยังนิยมนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

รูปร่างลักษณะ
                 
        ปลาแรดมีรูปร่างป้อม แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยืดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มี จุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัวข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ เมื่อโตมีนอที่หัว ตอนบนของลำตัวค่อนข้างออกเป็นสีน้ำตาลปนดำตอน ล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป
             
แหล่งกำเนิดปลาแรด
                 
       ปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า"ปลาเม่น"หรือ”ปลามิ่น”มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียวและหมู่ เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยพบมากแถบภาคกลาง ตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่แก่ง กระจาน จังหวัดเพชรบุร ีภาคใต้พบแถบจังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี และสาขาจังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมี จำนวนลดน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินและเสื่อมโทรม ไม่เหมาะที่จะเป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวของลูกปลาวัยอ่อน ทำให้เกษตรกรหลายจังหวัดสนใจ เลี้ยงปลาแรดทั้งในกระชังและบ่อดินมากขึ้นเช่น จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี นครปฐม ปทุมธานี เนื่องจากการเลี้ยงปลาแรดเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดี เนื่องจากปลาแรดเป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างกว้าง ขวาง และเป็นการช่วยกันอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์

อุปนิสัยของปลาแรด
                  
       ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่ง ตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและทะเลสาบชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงยกเว้นช่วงเวลาสืบพันธุ์เป็นปลาที่ ค่อนข้าง ตื่นตกใจง่าย ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่าย โดยวิธีให้สัญญาณเวลาให้อาหาร ปลาแรดชอบอยู่ในที่เงียบสงัดและมีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำร้ายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างอดทนกล่าวคือ เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการ หายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่บริเวณตอนเหนือของเหงือก โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้น แก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารเกือบทุกชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง แหน จอก สาหร่าย หญ้า อ่อน หนอน ลูกกุ้ง แมลง กล้วยน้ำว่าสุก ผลไม้ บางชนิด จะให้รำ ข้าวสุกและกากมะพร้าวเป็นครั้งคราวก็ให้ผลดี

การเพาะและขยายพันธุ์
                    การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะจำแนกความแตกต่างได้ชัดก็ต่อเมื่อมีขนาด สมบูรณ์พันธุ์ โดย สังเกตจากลักษณะภายนอกของตัวปลา คือ ตัวผู้สังเกตได้ที่โคนครีบหูจะมีสีขาวและมีนอ(Tubercle) ที่หัวโหนกสุงจนเห็นได้ชัด ตัวเมีย ที่โคนครีบหูมีสีดำอย่างเห็นได้ชัด ถ้าแม่ปลาตัวเมียพร้อมวางไข่สังเกตได้ว่าท้องอูมเป่ง ปลาแรดที่มีอายุเท่ากันตัวผู้จะโตกว่า ปลาแรดตัวเมียเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2 ปี ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม มีไข่ประมาณ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัวปนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้งต่อปี อัตราส่วนการปล่อยพ่อ แม่ปลาเพื่อผสมพันธุ์ ใช้อัตราส่วนเพศผู้ 2 ตัวต่อเพศเมีย 1 ตัว(2:1) โดยปล่อยปลา 1 ตัว/พื้นที่ 3-5 ตารางเมตร
                     การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์  ปกติปลาแรดมีปริมาณไข่มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์- เดือนสิงหาคม เกษตรกรจึงควรขุนพ่อ-แม่พันธุ์ปลา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป โดยใช้อาหารเม็ดลอยน้ำโปรตีนสูงหรืออาหารปลาดุกที่มีโปรตีน 25-30 เปอร์เซนต์ ให้ปริมาณ 2-3 เปอร์เซนต์ของน้ำหนัก ปลาในบ่อและควรเสริมด้วยอาหารสมทบประเภทพืช เช่น จอก สาหร่าย แหน กล้วยน้ำว้าสุก ผักต่างๆ เป็นต้น
                     การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์  บ่อเพาะพันธุ์ควร เป็นบ่อดินหรือบ่อ คสล.โดยบ่อดินควรมีขนาด 0.5-1.0 ไร่ ส่วนบ่อ คสล.ควรมีขนาด 50 ตารางเมตรอย่างน้อย ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการดูแลการวางไข่และการรวบรวมไข่ปลามาอนุบาล ภายในบ่อใส่ผักบุ้งหรือวัชพืชน้ำเพื่อให้ปลานำไปใช้ในการ สร้างรังหรือจะใช้วัสดุอื่นเพื่อเป็นที่สังเกตในการสร้างรังของปลา เช่น เศษเชือกฟางสีต่างๆ วัชพืชน้ำหรือวัสดุที่ใส่เพื่อให้ปลาสร้างรังนั้นควรวางกระจาย เป็นจุดๆ ทั่วบ่อเพาะพันธุ์ เนื่องจากพ่อแม่ปลาจะสร้างอาณาเขตในการดูแลรังของมัน หรืออาจใช้ตอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำน้ำที่กระแสน้ำไม่ แรงนักเป็นที่เพาะปลาแรดได้เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ
                      การสังเกตการวางไข่ของปลาแรด หลังจากปล่อยพ่อแม่ พันธุ์ปลาแรดลงในบ่อเพาะพันธุ์แล้ว ให้สังเกตการวางไข่ของปลาแรด ทุกวันโดยปลาแรดจะใช้พืชจำพวกรากผักบุ้ง กิ่งไม้ รากหญ้า หญ้าแห้ง และวัสดุอื่นๆ ที่มีในบ่อนำมาสร้างรัง รังปลาแรดมีลักษณะคล้ายรังนำลักษณะกลมๆ และมีฝาปิดรังขนาดรังทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต โดยปลาแรดใช้เวลาในการสร้างรังประมาณ 3-5 วัน แม่ปลาจึงวางไข่หากต้องการทราบว่าแม่ปลา วางหรือยังให้สังเกตได้จากคราบไขมันที่ลอยบนผิวน้ำเหนือรังที่แม่ปลาทำไว้ ถ้าพบว่ามีคราบไขมันบนผิวน้ำที่มีรังไข่ปลาแรดอยุ่ หรือเมื่อจับดูที่รังแล้วพบว่า รังปิดหรือเมื่อเห็นแม่ปลามาคอยเฝ้าดูแลรังและฮุบน้ำโบกหางอยู่ใกล้ๆ รัง แสดงว่าปลาวางไข่แล้วจากนั้นตักรังไข่ขึ้นมาคัดเลือกเฉพาะไข่ที่ดี(ไข่ที่มี ลักษณะสี เหลืองมันวาว) ไปพักในบ่อซีเมนต์หรือตู้กระจกเพื่อดำเนินการฟักต่อไป
                       การฟักไข่ ไข่ของปลาแรดเป็นประเภทไข่ลอย(มีลักษณะ กลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียวขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร)เมื่อแม่ปลาแรดวางไข่แล้วให้นำรังไข่ขึ้นมาแล้วตักเฉพาะไข่ดี และควรช้อนคราบไขมันออกมิฉะนั้นแล้วจะทำให้น้ำเสียและลูกปลา ที่ฟักออกมาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ที่ดีใส่ถังกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 เซนติเมตร ให้เครื่องเป่าอากาศ เบาๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ จะฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักไข่ในกระชังผ้าโอลอนแก้ว ซึ่งมี โครงร่างสี่เหลี่ยมขนาด 2x1x0.5 เมตร และมีหูเกี่ยวโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระชังตึงคงรูปอยู่ได้ในระหว่าง การฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงใน กระชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกให้มากที่สุด ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ๆ ตัวอ่อน จะลอยหงายท้องอยู่และรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณพืชน้ำหรือรากผักบุ้ง
                      การอนุบาลลูกปลาแรด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ    
                        6.1 ระยะเวลา 1-5 วัน หลังจากเก็บไข่ออกจากรังและฟักออกเป็นตัวแล้ว ช่วงนี้ยังไม่ต้องให้อาหารเนื่องจากลูกปลาจะใช้อาหารที่มีติด ตัวมาเรียกว่า"ถุงไข่แดง" ซึ่งติดอยู่ตรงบริเวณท้องลูกปลาวัยอ่อน ลูกปลาวัยอ่อนในระยะนี้ จะไม่ค่อยว่ายน้ำ และจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ
                        6.2 ระยะเวลา 6-15 วัน ลูกปลาจะเริ่มมีสีเข้มขึ้นระยะนี้เรียกว่า"ระยะถุงไข่แดงยุบ"ในช่วงนี้จะเริ่มให้ไรแดงเป็นอาหารโดยให้วัน ละ 2 ครั้ง(เช้า-เย็น)ลูกปลาจะเริ่มแตกกลุ่ม อยู่กระจายทั่วไปในบ่ออนุบาล
                        6.3 ระยะเวลา16-15 วันระยะนี้จะย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อดิน อัตราปล่อย 100,000 ตัว/ไร่ หรือประมาณ60-65ตัว/ตารางเมตร บ่ออนุบาลควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร ส่วนการอนุบาลในบ่อซีเมนต์ควรใช้อัตราส่วน 5 ตัว/ตารางเมตร
                      ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินยังคงให้ไรแดงเป็นอาหารอยู่และเริ่มให้รำผสมปลาป่น ในอัตราส่วน 1:3 ผสมน้ำสาดให้ทั่วบ่อเมื่อปลามี ขนาดโตขึ้นจึงเริ่มเปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำหรืออาหารต้มวันละ 2 ครั้ง(เช้า-เย็น) ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลาในบ่อ อนุบาลจนกระทั่ง ลูกปลามีขนาดความยาว 3 นิ้ว(5-7 เซนติเมตร) เพื่อนำไปเลี้ยงในกระชังต่อไป
                       การเตรียมบ่ออนุบาลวิธีการเตรียมบ่ออนุบาลลูกปลาแรด บ่ออนุบาลที่ใช้ควรมีขนาด 400-800ตารางเมตรตากบ่อให้แห้งประ มาณ 5-7 วัน เพื่อกำจัดโรคหรือศตรูของลูกปลา หว่านปูนขาว 60-120 กรัม/ไร่ หลังจากนั้นควรหว่านปุ๋ยคอกแห้ง 200-500 กิโลกรัม/ไร่ หรือปุ๋ยอินทรีย์ 20- 30 กิโลกรัม/ไร่ หรืออาจใช้ปุ๋ยทั้ง 2 ประเภทร่วมกันก็ได้ โดยใช้อัตราส่วนลดลงครึ่งหนึ่งของปุ๋ยแต่ละชนิดเพื่อสร้างเสริมอาหาร ธรรมชาติให้แก่ลูกปลา ใน ขณะอนุบาล หลังจากนั้นสูบน้ำเข้าบ่อระดับน้ำ 50-70 เซนติเมตร โดยใช้ตาข่ายในลอนกั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาขนาดใหญ่หรือศัตรูเข้ามากินลูกปลาใน บ่ออนุบาลภายในเวลา 3-5 วัน หรือสังเกตสีน้ำในบ่ออนุบาลเริ่มมีสีเขียวอ่อนๆ จึงนำลูกปลาแรดซึ่งอนุบาลในบ่อซีเมนต์ลงอนุบาลได้ระยะเวลาที่ใช้อนุบาลลูก ปลาแรดในบ่อดินประมาณ 30 วัน จะได้ลูกปลาแรดประมาณ 3-5 เซนติเมตร พร้อมที่จะจำหน่ายในราคาตัวละ 3-5 บาท

การเลี้ยงปลาแรด
                       ปลาแรดมีอวัยวะช่วยในการหายใจ ทำให้สามารถอยุ่ในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยและทนทานต่อโรคได้ดีทนอุณหภูมิต่ำถึง 15 องศา เซลเซียส เจริญเติบโตได้ดีในน้ำจืดและน้ำกร่อย นอกจากนี้ปลาแรดยังเป็นยังเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย จึงได้รับความสนใจจากประชาชนที่จะเลี้ยงเป็นอาชีพ สถานที่ที่ใช้เลี้ยงปลาแรดมี 2 ลักษณะ คือ เลี้ยงในบ่อดินและเลี้ยงในกระชัง
                       1.การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาแรด ควรเตรียมบ่อโดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้หมด ตากบ่อให้แห้งเป็นเวลา 3-7 วันจากนั้นหว่านปูนขาว 60-120 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดปลาที่ไม่ต้องการใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 200-500 กิโลกรัม/ไร่แล้วแต่พื้นที่หรือลักษณะ ของดิน ใช้วิธีทยอยใส่โดยให้สังเกตจากสีน้ำในบ่อถ้าสีน้ำจางลงให้ใส่ปุ๋ยเสริมลง เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม
                         - การเติมน้ำเข้าบ่อ ควรมีการกรองน้ำด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันปลาชนิดอื่นหรือศตรู ไม่ให้เข้ามาแย่งอาหารและที่อยู่อาศัยรวม ทั้งเข้ามาทำร้ายลูกปลาแรดในบ่อเลี้ยง เมื่อเตรียมบ่อพร้อมแล้วจึงนำพันธุ์ปลาแรดลงบ่อเลี้ยงต่อไป
                         - อัตราการปล่อยเลี้ยง อัตราการปล่อยปลาแรดในบ่อ เลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดของลูกปลา น้ำหนักปลาที่เริ่มปล่อยและขนาดของปลาที่ ต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตหากต้องการเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ควรปล่อยในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร ใช้เวลาเลี้ยง 1 ปีจะได้ปลาน้ำหนักประมาณ 0.8-1กิโลกรัม/ ตัวปลาแรดสามารถเลี้ยงแบบผสมผสานรวมกับปลากินพืชชนิดอื่นๆ เพื่อให้ปลาแรดกินพืชน้ำหรือวัชพืชน้ำที่ขึ้นในบ่อ และเป็นการทำความสะอาดบ่อไปด้วย หรือจะเลี้ยงร่วมกับสัตว์อื่น เช่น เป็ด ไก่ โดยกั้นรั้วเป็นคอกไว้ไม่ให้เป็ดออกมากินลูกปลาได้ ซึ่งวิธีนี้ผู้เลี้ยงจะสามารถประหยัดต้นทุนค่าอาหารปลาและเป็น การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                       2.การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง ปัจจุบันการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากปลาที่ได้จากการเลี้ยงใน กระชังจะมีราคาสูงกว่าปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี นครสวรรค์ ปทุมธานี นครปฐม ฯลฯ
                        รูปแบบกระชัง สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
                               - กระชังประจำที่ ลักษณะของกระชังแบบนี้ตัวกระชังจะ ผูกติดกับเสาหลักซึ่งปักไว้กับพื้นดินอย่างมั่นคง กระชังแบบนี้จะไม่ สามารถลอยขึ้นลงตามระดับน้ำได้ ดังนั้นแหล่งเลี้ยงควรมีระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดแตกต่างกันไม่เกิน 50-60 เซนติเมตร
                               - กระชังลอยน้ำ กระชังแบบนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงที่มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป ตัวกระชังจะผูกแขวนอยู่กับแพหรือ ทุ่นลอยซึ่งลอยขึ้นลงตามระดับน้ำ แพที่ใช้มีหลายลักษณะอาทิ ใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นแพลูกบวบและบางพื้นที่นิยมใช้ทุ่นโฟมหรือถังพลาสติกทำเป็นทุ่นพยุงแพโดย ใช้ท่อพีวีซี. เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว หรือจะใช้ท่อเหล็กแป๊บน้ำก็จะเสริมความแข็งแรงได้ดีซึ่งแยกออกเป็น 2 แบบ
                                * กระชังลอยแบบมีโครง กระชังแบบนี้จะมีส่วนเสริมความแข็งแรงและให้กระชังคงรุปอยู่ได้ เรียกว่า โครงกระชัง กระชัง จะสามารถกางได้เต็มที่ตามลักษณะของโครงร่างกระชัง มีระบบการถ่ายเทน้ำดีกระชังไม่ลู่ไปตามกระแสน้ำโครงกระชังควรทำด้วยวัสดุแข็งแรงพอสมควร เช่น ท่อพีวีซี.เหล็กแป๊บน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว โดยการออกแบบให้มีโครงอยู่ด้านใน หรือด้านนอกกระชังก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งาน
                                * กระชังลอยแบบไม่มีโครง กระชังแบบนี้ตัวกระชังอาจลู่ไปตามความแรงของกระแสน้ำได้ง่าย จึงต้องใช้วัสดุที่มีน้ำหนัก พอประมาณถ่วงตามมุมด้านล่างของกระชัง เนื้ออวนอาจกางไม่เต็มที่เนื่องจากกระแสน้ำ การถ่ายเทหมุนเวียนของน้ำไม่ดีเท่ากระชังแบบมีโครง กระชังเลี้ยง ปลาในปัจจุบันนิยมทำเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ขนาดที่นิยมใช้กันมากคือ 4x4x2 เมตร และ 5x5x2 เมตร
                        การติดตั้งกระชัง การติดตั้งกระชังให้มี ความมั่นคงแข็งแรงนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการติดตั้งกระชัง ได้แก่ กระแสน้ำ ระดับน้ำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ไม่วางกระชังขวางกระแสน้ำ ในกรณีที่เป็นกระชังลอยอาจจะใช้สมอยึดกระชังหรือแพให้คงที่อยู่ได้โดย ไม่ลอยไปตามกระแสน้ำ ทั้งนี้ควรเตรียมสมอให้เหมาะสม สามารถทนแรงของกระแสน้ำได้เชือกที่ผูกยึดแพหรือทุ่นลอยกับสมอควรมีความเหมาะ สมกับ ระดับความลึกเมื่อน้ำขึ้นสูงสุด ในการติดตั้งกระชังหลายๆ ลูกติดต่อกัน ระยะของการวางกระชังในแต่ละลูกควรมีระยะที่ห่างกันพอสมควรเพื่อให้น้ำมีการ หมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก แหล่งน้ำที่มีความเหมาะสมในการเลี้ยงปลาควรห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือ น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำ นั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคระบาดปลา
                        
ข้อจำกัดของการเลี้ยงปลาในกระชัง
                        1. สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสมกับการเลี้ยงปลา เช่น น้ำมีคุณภาพดี มีปริมาณออกซิเจนพอเพียง กระแสน้ำไหล ในอัตราที่พอเหมาะ และไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยง
                        2. สถานที่ตั้งกระชังควรอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือคลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
                        3.ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าขนาดตาหรือ ช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็กหรือเท่ากับตากระชัง ปลาอาจหนีออกจากกระชัง ได้ หรือถ้าไม่ลอดก็อาจเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องตากระชังซึ่งเป็นความเสีย หายอย่างหนึ่ง
                        4. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อม ๆ กันในทันทีที่ให้อาหารเพื่อให้ปลากินอาหารให้มากที่สุดก่อนที่อาหารจะ ถูกกระแส น้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง
                        5. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ และน้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที ซึ่งอาจจะเกิดปัญหากับปลาที่เลี้ยงในกระชัง หากประสบปัญหาดังกล่าวควรรีบขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่นเพราะฉะนั้นการเลือก ทำเลที่ตั้งกระชังจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดเพื่อลดปัญหาอื่นๆที่จะ ตามมา
                        อัตราการปล่อยปลา อัตราการปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงในกระชังจะสามารถปล่อย ได้ใปริมาณกว่าในบ่อดิน เนื่องจากการเลี้ยงปลา ในกระชังจะสามารถปล่อยได้ในปริมาณที่หนาแน่นกว่าในบ่อดิน เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกระชังจะมีการถ่ายเทของน้ำและอากาศที่ดีกว่า จึงสามารถปล่อยลง เลี้ยงได้ในอัตรา 30-50 ตัว/ตารางเมตร โดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง(เช้า-เย็น)ด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปและมีการเสริมด้วยพืชผักต่างๆ ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 7-8 เดือน จะได้ปลาน้ำหนัก0.7-1 กิโลกรัม/ตัว ซึ่งเป็นขนาดปลาที่ตลาดต้องการ

อาหาร
                      ปลาแรดเป็นปลาที่กินอาหารผิวน้ำโดยกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบกินพวกสัตว์เล็กๆ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูก กบ เขียด ตัวหนอน ไรแดง ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกพืชผัก เช่น ผักบุ้ง แหน จอก ผักกระเฉด ใบมันเทศ ใบผักกาด ส่วนอ่อนของผัก ตบชวา ใบข้าวโพด หญ้าอ่อน สาหร่าย รวมทั้งกล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก นอกจากนี้ยังสามารถให้อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็น ครั้งคราว ก็ให้ผลการเจริญเติบโตดีเช่นกัน และเป็นการประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงวางไข่และผสมพันธุ์ ปลาจะ ให้ไข่บ่อยและมีจำนวนไข่มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้อาจเลี้ยงด้วยอาหารเหม็ดสำเร็จรูปสำหรับปลากินประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาโดยมีระดับ โปรตีนอย่างน้อย 25% หรือใช้สูตรอาหารที่ทำขึ้นเอง โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น
                                             
ตารางสูตรอาหารจากมันสำปะหลังสำหรับปลากินพืช    
วัตถุดิบ (กก.)
ปลาใหญ่กระชัง
ปลาใหญ่บ่อดินสูตร 1
ปลาใหญ่บ่อดินสูตร 2
หัวมันสำปะหลังแห้ง/ปลายข้าวหัก
23
35
22
กากมะพร้าวคั้น
0
0
30
รำละเอียด
20
15
0
กากถั่วเหลือง
25
25
25
ปลาป่น
25
20
20
ใบกระถิาน
0
0
0
น้ำมัน
4
2
0
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
1
1
1
ฟรีมิกซ์
2
2
2
รวม
100
100
100
โปรตีน
27.5
24.5
26
พลังงาน
2700
2500
2500
ต้นทุน
10.65
9.36
8.5
เคล็ดไม่ลับกับการเลี้ยงปลาแรด
                         ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาเนื้อปลามีกลิ่นโคลน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมีราคาต่ำกว่าปลาแรดที่ เลี้ยง ในกระชังแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำพร้อมทั้งควบคุมคุณภาพน้ำและอาหารใน ช่วงก่อนจับขายประมาณ 1 สัปดาห์

การป้องกันโรคและศัตรู     
                  
การ เลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฏว่ามีโรคระบาดร้ายแรงจะมีบ้างเมื่อตอนลูกปลายังมีขนาด เล็กคือโรคเชื้อรา และเมื่อปลามีขนาดโตขึ้นก็อาจพบว่า มีเห็บปลา และหนอนสมอบ้างหรืออาจมีปัญหาบ้างในช่วงฤดูหนาวที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติปลาจะ กินอาหารน้อยข้อควรระวัง อย่าเปลี่ยนถ่ายน้ำในฤดูหนาว เพราะปลาจะปรับสภาพไม่ทัน สำหรับโรคของปลาแรดที่พบ มีดังนี้
                      1. โรคเชื้อรา โรคเชื้อราจะเกิดหลังจากที่ปลาเป็นแผลแบบเรื้อรังแล้ว มักพบเชื้อราเข้ามาร่วมทำให้แผลลุกลามโดยบริเวณแผลมีเชื้อรา เกิดเป็นปุยสีขาวๆ ปนเทาคล้ายสำลีปกคลุมอยู่
                          การป้องกันรักษา ปลาที่ป่วยเป็นเชื้อรามักเกิดเนื่องจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ควรปรับสภาพด้วยปูนขาวในอัตรา 60 กิโลกรัม/ไร่ และพยายามอย่าให้ปลาในบ่อตกใจหรือเกิดเป็นแผลขึ้นอีก สำหรับปลาที่ป่วยด้วยโรคนี้ใช้มาลาไคท์กรีน จำนวน 0.1-0.15 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
                      2. โรคเห็บปลา ปลาตัวที่เป็นโรคนี้จะสังเกต อาการได้ว่ามีพยาธิรูปร่างกลมๆ สีเขียวปนน้ำตาลขนาดประมาณ 5-7 มิลลิเมตร เกาะอยู่ ตามลำตัว ปัว และครีบ ปลาที่เป็นโรคนี้นานๆ จะมีแผลตกเลือดเล็กๆ (จุดแดงๆ) กระจายทั่วตัวว่ายน้ำทุรนทุรายและพยายามถูตัวกับข้างบ่อเพื่อให้เห็บหลุด
                          การป้องกันการรักษา
                          1.แช่ปลาตัวที่มีเห็บในสารละลายยาฆ่าแมลงจำพวกดิพเทอเร็กซ์ ในอัตราส่วน 0.5-0.75กรัม/น้ำ 1,000 ลิตรนาน 24 ชั่วโมง หรือ แช่ในสารละลายด่างทับทิม ในอัตราส่วน 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร นาน 15-30 นาที แล้วจึงย้ายปลาไปลงในน้ำสะอาดต่อไป
                          2.กำจัดเห็บปลาโดยการใช้คีบจับออก หากเห็บชนิดนี้เกาะแน่นเกินไปให้หยดน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 1-2 หยด ลงบนตัวพยาธิแล้วจึง ใช้ปากคีบดึงจะหลุดออกได้ง่าย
                          3.การจัดการเห็บปลาที่เกิดขึ้นในบ่อ ทำได้โดยการตากบ่อให้แห้งแล้วโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ
                       3.โรคหนอนสมอ เป็นพยาธิที่พบเสมอในปลาน้ำจืด หนอนสมอมักพบเกาะอยู่ตามผิวหนังของปลาดดยเฉพาะบริเวณโคนครีบ หนอน สมอตัวเมียที่โตเต็มวัยมีลักษณะลำตัวยาวคล้ายหนอน ที่ส่วนหัวมีอวัยวะสำหรับยึดเกาะกับผิวหนังปลาซึ่งมีรูปร่างคล้ายสมอเรือ พยาธิชนิดนี้จะดูดกินเนื้อเยื่อ ของปลาทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ได้ปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่มักมีแผลตกเลือดเต็ม ตัวและมีอาการระคายเคือง ปลาที่เป็นโรคนี้มักผอมลงจนผิดปกติถ้าเกิด โรคนี้ในปลาขนาดเล็กอาจทำให้ปลาตายได้
                           การป้องกันรักษา
                           1.ควรขนย้ายปลาที่เป็นโรคหนอนสมอเกาะอยู่ไปไว้ในถังอื่นประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อการรักษาและการป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนของ หนอนสมอที่เพิ่งออกเปนตัวมีที่ยึดเกาะ ซึ่งจะทำให้ตัวอ่อนหนอนสมอตายไปเองได้
                           2.แช่ปลาที่มีพยาธิเกาะในสารละลายดิพเทอแร็กซ์ ในอัตราส่วน 0.5 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร แช่นานประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยน น้ำเว้นระยะไป 5-7 วัน จึงแช่ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
                           3.การกำจัดหนอนสมอในบ่อที่ไม่มีปลา สามารถกำจัดให้หมดไปโดยการละลายดิพเทอเร็กซ์ 2 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร สาดลงไปในบ่อ ให้ทั่วทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงนำปลากลับมาลงเลี้ยงต่อไป

ศัตรูของปลาแรด
                       เนื่องจากปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้าจึงมักตก เป็นเหยื่อของปลาอื่นหรือนกกินปลาได้ง่าย หลีกเลี่ยงด้วยการอนุบาลให้ลูกปลามีขนาด ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงและการเตรียมบ่อที่ดีก็ช่วยลดศัตรูของปลาแรดได้เป็น อย่างดี

การลำเลียงและการขนส่ง
                       1.การลำเลียงขนส่งลูกปลา ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะจำหน่ายลูกปลาให้แก่ผู้ซื้อไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ก่อนการขนส่งควรนำลูกปลามาพัก ไว้ในบ่อซีเมนต์หรือกระชังแล้วพ่นน้ำเพิ่มออกซิเจนและงดอาหารประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ลูกปลาเคยชินต่อการอยู่ในที่แคบและขับถ่ายอาหารที่กินเข้าไปออก ให้มากที่สุด
                         1.1 การลำเลียงขนส่งลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร นิยมใหช้ถุงพลาสติกขนาด 18x28 นิ้ว ซ้อน 2 ชั้น ใส่น้ำประมาณ 5 ลิตร บรรจุ พันธุ์ปลาประมาณ 500-1,000 ตัว/ถุง พร้อมอัดออกซิเจนมัดปากถุงให้แน่น
                         1.2 การลำเลียงขนส่งลูกปลาขนาด 3 นิ้ว นิยมลำเลียงด้วยปี๊บโดยใส่น้ำประมาณ 10 ลิตร บรรจุลูกพันธุ์ปลาประมาณ 200-300 ตัว/ ปี๊บ หรือบรรจุถุงพลาสติกขนาด 20-30 นิ้ว ซ้อน 2 ชั้น บรรจุลูกปลาประมาณ 200 ตัว/ถุง พร้อมอัดออกซิเจนมัดปากถุงให้แน่น
                        ข้อควรคำนึง เกษตรกรผู้ซื้อพันธุ์ปลาไปเลี้ยงควรซื้อพันธุ์ปลา จากฟาร์มที่เชื่อถือได้และไม่ควรจะอยู่ไกลจากที่เลี้ยงมากนักเพราะการ ขนส่งลำเลียงในระยะทางไกลๆ ต้องใช้เวลามาก ลูกปลาอาจเครียดและเกิดความเสียหายได้นอกจากนี้ควรเลือกปลาที่มีลัดษณะแข็ง แรงลำตัวสมบูรณ์ไม่มีบาด แผลหรือเป็นโรค สีสันสดใสและในระหว่างการลำเลียงควรใส่ยาเหลือง ในอัตรา 1-3 ส่วนในล้านหรือใส่เกลือแกงในอัตรา 0.1-0.2 เปอร์เซนต์ เพื่อยับยั้งการ เจริญเติบดตของแบคทีเรียและป้องกันโรคเชื้อราที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกปลามี บาดแผลในระหว่างการขนส่ง ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรแช่ถุงพันธุ์ปลาลงในบ่อ ที่จะเลี้ยงประมาณ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ จากนั้นเปิดปากถุงค่อยๆ เทพันธุ์ปลาลงบ่อในวันแรกที่ปล่อยปลาควรงด อาหาร
                      2.การลำเลียงขนส่งปลารุ่นหรือปลาขนาดใหญ่ เพื่อส่งลูกค้าที่ต้องการปลามีชีวิต อาจใช้การลำเลียงในถังไฟเบอร์กลาสหรือถังผ้า ใบหรืออาจใช้ผ้าใบปูท้ายรถกระบะและต้องใช้แอร์ปั้ม เพื่อให้ออกซิเจนตลอดการลำเลียง

แนวโน้มด้านการตลาด   
                       ตลาดในประเทศไทยปลาแรดเป็นที่นิยมบริโภคเพราะเป็นปลาที่มีเนื้อมาก ก้างน้อย รสชาติดี ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่นทอด กระเทียม ทอดราดพริก นึ่งแบบต่างๆ ต้มยำ แกงหรือลาบ ฯลฯ ปลาแรดที่ตลาดในเมืองไทยต้องการคือ มีน้ำหนักตั้งแต่ 7 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม/ตัว
                      - ราคาปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดิน จะอยู่ที่ประมาณ 40-60 บาท/กิโลกรัม
                      - ราคาปลาแรดที่เลี้ยงในกระชัง จะนิยมขายปลามีชีวิตสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง น้ำจะถ่ายเทตลอดเวลาปลาจะไม่เหม็นกลิ่นโคลน ราคาจึงสูงกว่าปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน คือประมาณ 70-100 บาท/กิโลกรัม
                       ตลาดต่างประเทศ ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาแรดได้รวมตัวกันเพื่อจัดส่งปลาแรดไปจำหน่ายยังต่างประเทศโดยตลาดต่างประเทศ นิยมให้แล่เอาเฉพาะ เนื้อแช่แข็ง ทั้งนี้ต้องใช้ปลาที่มีขนาดตั้งแต่ 7 ขีด ขึ้นไป
                       - ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 150-160 บาท/กิโลกรัม โดยทางบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศจะเป็นผู้มาดูแลและออกค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เอง
                       - ราคาปลามีชีวิต ที่ส่งไปแถบประเทศมาเลเซียจะอยู่ที่ประมาณ 250-350 บาท/กิโลกรัม

ต้นทุนและผลตอบแทน    
                      1.การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง
                         1.1 ต้นทุนการผลิตค่าโครงกระชังและกระชัง
                              ก. ค่าวัสดุทำโครงกระชังขนาด 4x4x2 เมตร แบบกระชังทุนลอยแบบถังพลาสติก(อายุการใช้งาน 4 ปี)  เป็นเงิน 5,000  บาท
                              ข.ค่าวัสดุทำกระชังเนื้ออวนโพลีเอทธีลีนขนาด 2-3 ซ.ม.(อายุการใช้งาน 4 ปี) เป็นเงิน 6,400  บาท

                                
รวมต้นทุนค่ากระชัง  เป็นเงิน  11,400  บาท
                                รวมต้นทุนค่ากระชังเป็นรายปี(หักค่าเสื่อม) เป็นเงิน 2,850  บาท
                         1.2 ต้นทุนการผลิตที่เป็นค่าวัสดุการเกษตรอื่น ๆ
                              - ค่าพันธุ์ปลาแรด ขนาด 5-6 ซม. จำนวน 800 ตัว  เป็นเงิน  3,200  บาท
                              - ค่าอาหารปลาสำเร็จรูปสำหรับอนุบาลลูกปลาจำนวน 40 กิโลกรัมๆ ละ 19 บาท เป็นเงิน 760  บาท
                              - ค่าอาหาร(สูตรปลาใหญ่ในกระชัง) จำนวน 1,800 กิโลกรัมๆ ละ 10.65 บาท  เป็นเงิน 19,170  บาท
                              - ค่ายารักษาโรค และอื่นๆ  เป็นเงิน  2,000  บาท
                                                 รวมเป็นเงิน   25,130 บาท
                         1.3 ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับในระยะเวลาการเลี้ยง 1 ปี
                              - ผลผลิตปลาแรด ขนาด 0.8 - 1.2 กิโลกรัม รวม      700   กิโลกรัม
                              - มูลค่าผลผลิตกิโลกรัมละ  60-70  บาท
                                                 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  42,000-49,000  บาท
                          1.4 ผลกำไรต่อการเลี้ยงปลาแรด 1 รุ่น โดยคำนวนจากค่าเสื่อมกระชัง เป็นเงิน 14,020-21,020 บาท
                      2.ผลผลิตและต้นทุนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน
                         จากข้อมูลสอบถามจากเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในภาคกลาง ซึ่งเเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาด 1 ไร่ ปล่อยลูกปลาแรดขนาด 3-5 เซนติเมตร จำนวน 3,000 ตัว/ไร่ พบว่าผลผลิตปลาแรดในบ่อดินระยะเวลาเลี้ยง 10 เดือน ได้ผลผลิต 1,500-2,000 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีต้นทุนผันแปร อยู่ที่ประมาณ 25-33 บาท/กิโลกรัม แบ่งเป็นค่าพันธุ์ปลา 4 บาท ค่าอาหาร(อาหารเม็ดลอยน้ำและพืชผักผลไม้)ประมาณ 15-20 บาท ค่าโรงงานและอื่นๆ 6-9 บาท ภาวะราคาตลาดปลาแรดในปัจจุบันพบว่าราคาปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินอยู่ในช่วง 40-60 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงที่มีประสบการณ์เพียง พอจะได้กำไรข้นต้นประมาณ 15-27 บาท/กิโลกรัม

ปัญหาและอุปสรรค
                    
ปัญหาอุปสรรคในด้านการเลี้ยงนั้นปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายไม่ค่อยปรากฏโรคมากนัก สำหรับด้านการตลาดในประเทศนั้นยังมีการแข่ง ขันกับปลาน้ำจืดชนิดอื่นในบางช่วงฤดูกาลด้วย ส่วนตลาดต่างประเทศยังค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่นมากนัก
แหล่งผลิตลูกพันธุ์ปลาแรดของกรมประมง
                    1.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท  เขื่อนเจ้าพระยา  หมู่ 5  ต.สรรพยา  อ.สรรพยา  จ.ชัยนาท  โทร 0-5642-6522
                    2.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปทุมธานี  คลอง 13  ต.ศาลาครุ  อ.หนองเสือ  จ.ปทุมธานี  โทร 0-2546-3186
                    3.สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดอุทัยธานี  38 หมู่ 8 ต.สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี  โทร 0-5651-3040

ตลาดรับซื้อปลาแรด
                    1.องค์การสะพานปลา 211 ถนนเจริญกรุง  แขวงยานนาวา  เขตสาธร  กรุงเทพฯ  0-2211-0300
                    2.ตลาดบางเลน  อ.บางเลน  จ.นครปฐม
                    3.ตลาดไท  รังสิต  จ.ปทุมธานี
                    4.ตลาดสี่มุมเมือง  รังสิต  จ.ปทุมธานี
                    5.ตลาดสุวพนธ์  อ.เมือง  จ.อ่างทอง

 

ไม่มีความคิดเห็น: