วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง


|

 






ภูมิปัญญาเกษตรกรไทย

ภูมิปัญญาเกษตรกรไทย
ภูมิปัญญาการเกษตร_สัตว์
สูตรสมุนไพรป้องกัน/รักษาโรคในสัตว์
สูตรอาหารเลี้ยง/บำรุงสัตว์
สูตรน้ำหมักขจัดกลิ่นเหม็นในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
สูตรน้ำหมักบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ/
บ่อเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำ
ภูมิปัญญาการเกษตร_พืช
สูตรปุ๋ย/ฮอร์โมนบำรุงพืชและดิน
สูตรสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
สูตรสารป้องกันกำจัดวัชพืช
ผลผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตร
พลังงานทดแทน
 

ทุ่งรวงทอง


ข้าว
ข้าวสาลี
ข้าวบาร์เลย์
 

สวนเงินไร่ทอง


กฏหมายการเกษตร
กล้วยไม้
การขยายพันธุ์พืช
การจัดการฟาร์มพืช
เกษตรกรรมธรรมชาติ
ข่าวและสถานการณ์
โรคพืช
นานาสาระเกี่ยวกับพืช
ปาล์มน้ำมัน
ปุ๋ยและสารเคมี
ผลผลิตและการแปรรูป
พืชผัก
พืชพลังงานทดแทน
พืชไร่
พืชสมุนไพร
พืชสวนประดับ
มะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์
ไม้ป่าเศรษฐกิจ
ไม้ผล
ยางพารา
รวมเรื่องไผ่
รวมเรื่องเห็ด
โลกของแมลง
วัชพืช
วิทยาการเกษตร
 

ปศุสัตว์เศรษฐี


กฎหมายปศุสัตว์
เกร็ดความรู้ปศุสัตว์
ประมงน้ำเค็ม
ประมงน้ำจืด
โรคปศุสัตว์
สัตว์ปีก
สัตว์เล็ก
สัตว์เลี้ยงและสัตว์สวยงาม
สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่
สัตว์ใหญ่
อาหารสัตว์และพืชอาหารสัตว์
อาณาจักรสัตว์
 



Thailand Web Stat


เลือกขนาดตัวอักษร
|
 ข้อมูลการเกษตร
 

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง
แหล่งกำเนิด
ปลาแรดมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเม่น" มีถิ่นกำเนิดในประเทศ อินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่อง จากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และเลี้ยงงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การ เลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัด อุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การ เพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภค อย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์




ลักษณะโดยทั่วไปปลาแรด
อุปนิสัย
ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้นๆในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ เป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่าย โดยวิธีการ ให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทน เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานๆเพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการ หายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อนๆอยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

รูปร่าง
ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัดปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อ แต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป





 
Copyright © 2010 by Rakbankerd.Com All rights reserved.
eus

ไม่มีความคิดเห็น: