วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปลากระพง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปลากระพง
         ปลากระพงขาวเป็นปลาที่สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบมหาสมุทร แปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศในภูมิภาคนี้ ทั้งในแง่การใช้อาหาร และใน การกีฬาตกปลา เนื่องจากปลากระพงขาวมีลักษณะเด่นหลายประการ อาทิเช่น เป็นปลาที่เจริญเติบโตได้เร็ว ใช้เวลา เลี้ยง 6 – 8 เดือน ก็สามารถขายได้ สามารถเลี้ยงได้ในบริเวณที่น้ำขุ่น และในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็ม ในช่วงกว้าง และเป็นปลาเนื้อขาวจึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ประกอบกับความต้องการบริโภคเนื้อปลา มีสูงขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี การเพาะเลี้ยงปลากระพงขาวจึงคงเป็นอาชีพที่น่าสนใจ
       การเพาะเลี้ยงปลากระพงขาวในประเทศไทยนั้นมีมานาน โดยระยะแรกเป็นการรวบรวมพันธุ์ปลา ที่ได้จาก ธรรมชาติมาใช้ในการเลี้ยง จนกระทั่งปี 2516 ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลากระพงขาวสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลก จึงทำให้การเลี้ยงปลากระพงขาวในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น แต่ก็ยังจำกัดการเลี้ยงอยู่ ในบริเวณจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลหรือมีน้ำทะเลแพร่กระจายไปถึง รูปแบบการเลี้ยงนั้นมีทั้งการเลี้ยงในบ่อดินและ ในกระชัง สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลานั้น เกษตรกรยังคงใช้ปลาเป็ด เป็นอาหารในการเลี้ยงปลากระพงขาวตั้งแต่ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
          ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ทรัพยากรประมงมีความเสื่อมโทรมลงมาก การใช้ปลาเป็ดเป็นอาหารสัตว์น้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่าเนื่องจากต้องใช้ปลาสดจำนวนถึง 6 – 7 กิโลกรัม เพื่อการผลิตปลากระพงขาว 1 กิโลกรัม ซึ่งบางครั้งปลาเป็ดที่ใช้เลี้ยงปลา อาจจะเป็นลูกปลาเศรษฐกิจที่ยังไม่โตเต็มที่ การใช้ปลาเป็ดจึงอาจ เป็นทางหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรประมงลดลง ประกอบกับการใช้ปลาเป็ดเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ปลา ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ปลาไม่แข็งแรง ความต้านทานโรคต่ำ อาจชักนำให้เกิด ความสูญเสีย ต่อการเลี้ยงปลาได้ การให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและให้อย่างถูกวิธี จึงน่าจะเป็นวิธีการเลี้ยงปลา ที่ให้ ผลตอบแทนสูงและค่อนข้างแน่นอนกว่า
         กรมประมง โดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้รับเงินอุดหนุนจากประเทศแคนาดา ให้ทำ การศึกษาวิจัยอาหารปลากระพงขาวในช่วงปี 2530 – 2534 โดย ดร.มะลิ บุญยรัตผลิน และคณะ ซึ่งผลการศึกษา ดังกล่าวทำให้ทราบความต้องการสารอาหารของปลากระพงขาวในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นก็ได้มีการวิจัย ต่อเนื่อง เรื่อยมา เมื่อรวมกับข้อมูลที่ทำการวิจัยโดยนักวิจัยท่านอื่นในภูมิภาคนี้ ทำให้กล่าวได้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับอาหาร ของปลากระพงขาวนั้น มีความสมบูรณ์ในระดับที่สามารถนำไปใช้ได้

ความต้องการสารอาหารของปลากระพงขาว
        ปลากระพงขาวมีความต้องการสารอาหารหลัก 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน พลังงาน วิตามิน และเกลือแร่ เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ซึ่งถ้าจะเปรียบกับคนเราก็คือการที่คนต้องกินเนื้อปลา, เนื้อวัว หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ เพื่อให้ได้ โปรตีนไปใช้ กินของทอดที่มีน้ำมันหรือกินแกงกะทิที่มีน้ำมันเยิ้ม เพื่อให้ได้ไขมันเป็นใช้ กินข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว รวมทั้งขนมจีน (เฉพาะเส้น) เพื่อให้ได้คาร์โบไฮเดรทหรือแป้งไปใช้เป็นพลังงาน และกินผักและผลไม้เพื่อ ให้ได้วิตามินและเกลือแร่สำหรับให้ร่างกายนำไปใช้ แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการสารอาหารสำหรับสัตว์แต่ละชนิด นั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายวิภาคของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีผลไปกำหนดพฤติกรรมการกินอาหาร จากการศึกษาพบว่าปลากระพงขาวเป็นปลาที่มีกระเพาะอาหารที่สามารถผลิตน้ำย่อย ชนิดที่เป็นกรด สามารถย่อยสาร อาหารจำพวกโปรตีนได้ ซึ่งคล้ายกับคนเราที่กระเพาะอาหารที่สามารถผลิตน้ำย่อยที่ค่อนข้างเป็นกรด ได้เช่นกัน ระบบทาง เดินอาหารส่วนต่อไปคือลำไส้ พบว่า ปลากระพงขาวมีลำไส้สั้นกว่าความยาวลำตัว ขณะที่คนเรามีทั้ง ลำไส้เล็กและ ลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีความยาวมากมายขดวกไปวนมาอยู่ในช่องท้องมีการศึกษาพบว่าลำไส้นั้นมี หน้าที่หลัก ในการดูดซึม สารอาหารต่างๆ ได้หลายชนิดรวมทั้งน้ำตาลซึ่งได้จากการย่อยคาร์โบไฮเดรทหรือแป้ง ซึ่งอาจชี้ให้เห็นถึงลักษณะอาหาร ที่เหมาะสมกับปลากระพงขาวว่าน่าจะเป็นอาหารจำพวกโปรตีนมากกว่าอาหารที่เป็น แป้ง ขณะที่คนเรามีทั้งกระเพาะ และลำไส้ที่ยาว จึงสามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ข้าวจ้าว ขนมปัง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าเรา จะเลือกกินอะไร

        โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมากอันดับหนึ่งสำหรับปลา คือ ประมาณ 30 – 50% ในอาหาร ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเนื้อหนัง อวัยวะต่างๆ เอนไซม์ ฮอร์โมน หน่วยย่อยของโปรตีน คือ กรดอะมิโน โดยแท้จริงแล้ว สัตว์น้ำต้องการหน่วยย่อยเหล่านี้มากกว่า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเป็นเนื้อเยื่อหรือ เอนไซม์ต่างๆ ซึ่งส่วนที่เป็นหน่วยย่อยเล็กๆ ที่สัตว์น้ำต้องการมีทั้งหมด 20 ชนิด โดยชนิดที่สัตว์น้ำต้องการจริงๆ เนื่องจากผลิตไม่ได้ มีอยู่ด้วยกัน 10 ชนิด จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร และต้องได้รับในปริมาณที่สมดุล เพื่อนำไปใช้ใน การสร้างโปรตีนอีกทอดหนึ่ง ถ้าหากได้รับตัวใดตัวหนึ่งไม่ครบ ก็จะทำให้ร่างกายหยุดสร้างโปรตีน ซึ่งหมายถึงการหยุด การเจริญเติบโตด้วย ถ้าหากเปรียบการกินอาหารเข้าไปของสัตว์น้ำเพื่อนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์นั้น เหมือนการสร้าง บ้านหลังหนึ่ง ก็อาจจะเปรียบส่วนขิงโปรตีนเหมือนกับผนังปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็น ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของบ้าน และเปรียบกรวด หิน ดิน ทราย และปูนซีเมนต์เหมือนกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็น ซึ่งต้องมีสัดส่วนในการผสมที่พอเหมาะ จึงจะก่ออิฐถือปูนสร้างขึ้นมาเป็นผนังบ้าน การที่กรดอะมิโน มีความสำคัญเช่นนี้เองจึงถูกใช้เป็นตัว ที่บ่งบอก ถึงคุณภาพของวัตถุดิบ โปรตีนที่มีคุณภาพดี มักมีกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็น อยู่ในปริมาณที่สมดุล ซึ่งมักจะพบได้ใน ปลาป่นคุณภาพดี

ตารางที่ 1 ระดับโปรตีนในอาหารปลากระพงขาว

ชนิดสัตว์น้ำ ระดับความต้องการโปรตีน (%) อ้างอิง
ปลากระพงขาวLates calcarifer 45 – 5550 ที่ระดับไขมัน 15%
45 ที่ระดับไขมัน 18%
45 ไขมัน 12% สำหรับระยะปลารุ่น
45 ไขมัน 15%
Cuzon,1988
วิเชียร,2531;
วิเชียร,2532;
Wong และ Chou,1989
Viyakarn et al,2000
ตารางที่ 2 แสดงความต้องการโปรตีนในอาหารของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ
ชนิดสัตว์น้ำ
ความต้องการโปรตีน (%)
ปลานิล
ปลาไน
ปลาสวาย
ปลาดุกด้าน
ปลาดุกลูกผสม
ปลาช่อน
ปลาจีน
ปลานวลจันทร์ทะเล
ปลากระพงขาว
กุ้งก้ามกราม
กุ้งกุลาดำ
34+8
35+2
27+2
30+2
35+5
48+5
27+3
40
48+2
34+5
43+7
        ไขมันและกรดไขมัน ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับสัตว์น้ำอีกกลุ่มหนึ่ง โดยสิ่งที่สัตว์น้ำนำไปใช้คือ ไขมันที่ย่อยให้เป็นหน่วยย่อยๆ แล้ว จึงนำไปใช้ เช่น ฟอสโฟลิปิด ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ นอกจากนี้ หน่วยย่อยที่เล็กลงไปอีกของไขมัน คือ กรดไขมัน โดยในปลาทะเลนั้น มีความต้องการกรดไขมัน ในกลุ่มที่เรียกว่าโอเมก้า 3 เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้เอง จึงต้องได้รับจากอาหารในระดับที่เพียงพอ ถ้าหาก ปลากระพงขาวได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอนั้น จะทำให้ปลาแสดงอาการขาดกรดไขมัน โดยมีลักษณะสีแดง อมชมพูบริเวณปากและครีบ พบว่าปลากระพงขาววัยรุ่นต้องการกรดไขมันกลุ่มนี้ในระดับ 1 ถึง 1.7% ของอาหาร เมื่ออาหารมีระดับไขมัน 13%
ตารางที่ 3 ความต้องการสารอาหารในกลุ่มไขมันของสัตว์น้ำ
สัตว์น้ำ
กรดไขมันที่จำเป็น
ฟอสโฟลิปิด
คลอเรสเตอรัล
ปลานิล
ปลาน้ำจืดทั่วไป
ปลาทะเลและน้ำกร่อย
กุ้งน้ำจืด
กุ้งทะเล
1% w6(=2% น้ำมันพืช)
1% w3 + 1% w6(=4% น้ำมันปลา + 2% น้ำมันพืช)
1% w3 (=4% น้ำมันปลา)
0.75% w3 (=3% น้ำมันปลา)
1% w3 (=4% น้ำมันปลา)
0.05%
0.05%
3%
ไม่ต้องการ
3%
0.5%
(3% ปลาหมึกป่นหรือ
5% หัวกุ้งป่น)
0.5%(3% ปลาหมึกป่นหรือ
5% หัวกุ้งป่น
         พลังงาน พลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยทุกกิจกรรมใน การดำรง ชีวิตมีพลังงานเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น การว่ายย้ำ การหายใจ การกินอาหาร การสืบพันธุ์ หรือแม้แต่การขับถ่าย ล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น โดยพลังงานที่เหลือจากกิจกรรมต่างๆ จึงจะนำไปใช้ในการเจริญเติบโต
       พลังงานที่ได้จากการกินอาหารนั้นได้มาจากโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรท โดยที่ไขมันจะให้พลังงาน ต่อหน่วยมากที่สุด ขณะที่โปรตีนและเป็นแหล่งพลังงานที่แพงที่สุด และพลังงานจากคาร์โบไฮเดรทมีราคาถูกที่สุด ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วจึงควรมีคาร์โบไฮเดรทในอาหารให้มากที่สุด แต่เนื่องจากปลากินเนื้อมีความสามารถ ในการ ใช้คาร์โบไฮเดรทจำกัด จากการศึกษาพบว่าปริมาณคาร์โบไฮเดรททั้งหมดในอาหารปลากระพงขาวไม่ควรเกิน 20%
          วิตามินและแร่ธาตุ วิตามินและแร่ธาตุเป็นสารอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณน้อย แต่จำเป็นต้อง ได้รับ โดยทำหน้าที่ร่วมในการทำปฏิกิริยาในขบวนการต่างๆ ของร่างกาย ถ้าจะเปรียบก็อาจจะเปรียบ ได้กับน้ำมันหล่อลื่น ที่คอยทำให้กลไกต่างๆ ทำงานได้คล่องตัว หรือวิตามินและแร่ธาตุบางตัวอาจจะเหมือนไม้ขีดไฟ หรือไฟเช็คที่คอย จุดระเบิดเพื่อให้เครื่องยนต์เริ่มต้นทำงานก็ได้ ซึ่งถ้าขาดไม้ขีดหรือขาดน้ำมันหล่อลื่นก็ทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถ ทำงานได้ หรือถ้าทำงานได้ก็อาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
        วิตามินที่สัตว์น้ำต้องการมีด้วยกัน 15 ชนิด โดยเป็นวิตามินที่ละลายน้ำ 11 ชนิด และวิตามินที่ไม่ละลายน้ำ จำนวน 4 ชนิด สำหรับแร่ธาตุที่สัตว์น้ำต้องการนั้น มีอยู่ด้วยกัน 10 ชนิด โดยแร่ธาตุหลักๆ ได้แก่แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและเกล็ดปลา

อาการ
สารอาหารที่ขาด
วิธีรักษา
ตัวดำ วิตามินซีหรือ
สภาพแวดล้อมไม่เหมาะ
เติมวิตามินซี 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
ครีบหางแหว่ง วิตามินซี เติมวิตามินซี 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
เลือดออกตามช่องเหงือก วิตามินซี เติมวิตามินซี 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
กระดูกอ่อนที่ปลาย วิตามินซี เติมวิตามินซี 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
กะพุงแก้มและใต้คางขาด .  
กระดูกลำตัวคดงอ วิตามินซี เติมวิตามินซี 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
ชอบหลบรวมกลุ่มอยู่ก้นบ่อ วิตามินซี เติมวิตามินซี 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
นอนเอียงข้างหรือ วิตามินซี .เติมวิตามินซี 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
หงายท้องอยู่ก้นบ่อ .  
ปากเป็นแผลถลอก วิตามินบี 6 เติมวิตามินบี 6 50 มิลลิกรัม/อาหาร 1 ก.ก.
ชอบลอยตัวบนผิวน้ำ วิตามินบี 6 เติมวิตามินบี 6 50 มิลลิกรัม/อาหาร 1 ก.ก.
ว่ายน้ำพุ่งสู่ฝั่งแบบไร้ทิศทาง วิตามินบี 6 เติมวิตามินบี 6 50 มิลลิกรัม/อาหาร 1 ก.ก.
เบื่ออาหาร วิตามินซี, วิตามินบี 6, กรดไขมัน เติมวิตามินรวม 0.5%
ตัวเกร็งงอ วิตามินบี 8 เติมวิตามินบี 6 50 มิลลิกรัม/อาหาร 1 ก.ก.
ตาถั่ว วิตามินบี 8 เติมวิตามินบี 2 200 มิลลิกรัม/อาหาร 1 ก.ก.
ตัวแดง วิตามินบี 2 เติมน้ำมันตับปลา 15 กรัม/อาหาร 1 ก.ก
หาง และครีบแดง กรดไขมันที่จำเป็น เติมน้ำมันตับปลา 15 กรัม/อาหาร 1 ก.ก
หายใจถี่ กรดไขมันที่จำเป็น เติมน้ำมันตับปลา 15 กรัม/อาหาร 1 ก.ก
ตัวผอมลีบ วิตามินอี เติมวิตามินอี 400 มิลลิกรัม/อาหาร 1 ก.ก.
เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของอาหารปลากระพงขาว
ข้อเสียของปลาเป็ด
          1. มีคุณค่าทางโภชนาการไม่สมดุล กล่าวคือ มีปริมาณโปรตีนสูง แต่ขาดวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี และขาดเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะเมื่อใช้เฉพาะเนื้อปลาที่ไม่มีกระดูกมาอนุบาลลูกปลา ส่วนปริมาณไขมัน ขึ้นกับชนิดปลาเป็ดหรือฤดูกาล
           2. ถ้าปลาเป็ดที่ใช้ไม่สดโปรตีนบางส่วนจะถูกย่อยสลายไป ก่อให้เกิดสารอีสตามีน แอมโมเนีย และไฮโดรเจน ซัลไฟด์ ไขมันบางส่วนจะเกิดการหืน และวิตามินบางตัว เช่น บี 1 เอ ดี อี เค โดลีน ไนอาซีน และซี จะเสื่อม
          3. คุณภาพปลาเป็ดผันแปรตามฤดูกาล และบางฤดูกาลขาดแคลน


ข้อดีของการใช้อาหารสำเร็จเป็นอาหารปลากระพงขาว
1. มีคุณค่าทางอาหารครบตามที่ปบลากระพงขาวต้องการ และคุณภาพดีสม่ำเสมอ ไม่ผันแปร
2. สะดวก ซื้อครั้งเดียวใช้ได้นาน
3. ผสมยาได้ง่าย และให้ผลดีในการรักษา
อาหารปลากระพงขาวที่แนะนำให้ใช้แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
          1. ปลาเป็ดผสมวิตามินและเกลือแร่
         อาหารแบบนี้เหมาะกับแหล่งเลี้ยงปลาที่หาปลาเป็ดสดได้ง่าย ราคาไม่แพง และผู้เลี้ยงต้องการให้ได้ ผลผลิตสูงขึ้นและกำไรมากขึ้น วิธีทำโดยใช้ปลาเป็ด 100 กิโลกรัม ผสมกับวิตามินและเกลือแร่ 0.5 กิโลกรัม เพื่อให้วิตามินและเกลือแร่กระจายทั่ว ควรนำวิตามินและเกลือแร่มาผสมกับสื่อ เช่น รำ หรือแป้ง ในอัตราส่วน 1:10 ให้เข้ากันดีเสียก่อน หลังจากนั้นจึงนำไปคลุกเคล้ากับปลาเป็ดให้เข้ากันดีแล้วจึงนำไปเลี้ยงปลา ถ้าสังเกตเห็น ว่าปลาเป็ดที่ใช้เลี้ยงปลากระพงขาวผอม มีไขมันต่ำ และปลากระพงขาวกินอาหารลดลงบริเวณปากและครีบแดง ควรเสริมน้ำมันตับปลา 0.5% เป็นเวลาอย่างน้อย 1 อาทิตย์ หรือจนกว่าอาการดังกล่าวจะหายไป
          2. ปลาเป็ดผสมอาหารผงสำเร็จ
อาหารแบบนี้เหมาะสมกับแหล่งเลี้ยงปลาที่หาปลาเป็ดได้ง่าย ราคาถูก แต่ปริมาณไม่เพียงพอ วิธีทำ โดยเมื่อต้องการใช้ ให้นำอาหารผงสำเร็จมาผสมวิตามินซีแล้วจึงนำไปผสมกับปลาเป็ดในอัตราส่วน 3:2 ผสม จนเข้ากันดีแล้ว อัดเป็นเส้นและเกลี่ยให้หักออกเป็นท่อนสั้นๆ ให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปลา
        3. อาหารสำเร็จ
อาหารแบบนี้เหมาะสำหรับแหล่งเลี้ยงปลาที่หาซื้อปลาเป็ดได้ยาก หรือเลี้ยงเป็นปริมาณมาก อาหารสำเร็จ มีส่วน ประกอบคล้ายแบบที่ 2 ต่างกันตรงที่ไม่ใช้ปลาเป็ด จึงต้องมีแป้งเหนียวหรือแป้งสุก เพื่อช่วยให้อาหารเกาะตัวกันดี และเพิ่มปริมาณปลาป่นเพื่อให้ได้ระดับโปรตีนตามที่ต้องการ เสร็จแล้วผสมวัสดุที่มีปริมาณน้อยให้เข้ากันดี เสียก่อน เช่น วิตามิน เกลือแร่ และแป้งเหนียว จากนั้นจึงนำไปผสมกับปลาป่น จนเห็นว่าเข้ากันดี แล้วค่อยๆ ใส่น้ำมันทีละน้อย จนกระทั่งผสมเข้ากันดีแล้วจึงใส่ถุงพลาสติก เก็บไว้ในที่แห้ง เย็น อากาศถ่ายเทดี และปราศจากสัตว์รบกวน เมื่อต้องการใช้ ให้นำอาหารสำเร็จมาผสมน้ำในอัตราส่วน 100:35 นวดให้เข้ากันดี แล้วอัดเป็นเส้นและ เกลี่ยให้หักออกเป็นท่อนสั้นๆ ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดปากของปลา อาหารสำเร็จที่ผสมน้ำแล้วควร ใช้ให้หมด ภายใน 1 วัน เพราะถ้าเก็บไว้นานแห้งจะคืนตัว
ทำให้อาหารไม่เกาะกันและอาจบูดเหม็นเปรี้ยวด้วย

สูตรอาหารปลากระพงขาวที่แนะนำ
วัสดุอาหาร
ปริมาณในอาหาร 1 กิโลกรัม
ปลาป่นอย่างดี
กากถั่วเหลือง
หัวกุ้งป่น
สารเหนียว(แอลฟ่าสตาช์)
แป้งสาล
ีแป้งข้าวจ้าว
น้ำมันปลาทะเล
น้ำมันพืช
วิตามินรวมและแร่ธาต ุรวม
วิตามินซี
490
150
80
60
70
24
30
85
10
1
ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทสัตว์น้ำและอาหาร
ประเภทสัตว์น้ำ
อาหารที่เหมาะสม
1. ปลากินเนื้อ
- มีกระเพาะเดียว
- ลำไส้เล็กสั้น
- ความยาวของระบบย่อยอาหารสั้นกว่าความยาวของตัวปลา
- ปลาช่อน กะพง เนื้ออ่อน
1. ปลากินเนื้อ
- อาหารที่ย่อยง่าย
- มีโปรตีน , ไขมันสูง
- แป้งน้อย
2. ปลากินพืช
- ความยาวของระบบย่อยอาหารประมาณ 6 – 8 เท่าของความยาวตัวปลา
- ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารดีกว่าปลากินเนื้อ
- ปลานิล, นวลจันทร์
2. ปลากินพืช
- กินอาหารไม่เลือกชนิด
3. ปลากินเนื้อและพืช (กระเพาะจริง)
- ความยาวของระบบย่อยอาหารประมาณ 1.8
– 2 เท่า
- ปลาดุก
3. ปลากินเนื้อและพืช (กระเพาะจริง)
- มีโปรตีน, ไขมัน, ค่อนข้างสูง
4. ปลากินเนื้อและพืช (กระเพาะเทียม)
- ส่วนของลำไส้เล็กขยายใหญ่ขึ้น ทำหน้าที่เป็นกระเพาะ จึงมีน้ำย่อย ที่เป็น กรดน้อย
- ความยาวของ ระบบย่อย อาหารประมาณ 3 เท่า
- ปลาตะเพียน, ไน, คาร์พ
4. ปลากินเนื้อและพืช (กระเพาะเทียม)
- โปรตีนจากพืชใช้ได้ดี
บรรณานุกรม
มะลิ บุณยรัตผลิน, ธิดา เพชรมณี, สุพจน์ จึงแย้มปิ่น และ จารุรัตน์ บูรณะพาณิชย์กิจ. 2532. อาหาร การให้อาหาร       และอาการขาดธาตุอาหารของปลากระพงขาว. เอกสารคำแนะนำฉบับที่ 1/2532 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยง       สัตว์น้ำชายฝั่ง, สงขลา 12 หน้า.
วิมล จันทรโรทัย. 2537. อาหารและการให้อาหารสัตว์น้ำ สาระสำคัญโดยสรุป. เอกสารเผยแพร่ฉบับที่ 25 สถาบัน       วิจัยประมงน้ำจืด, กรุงเทพฯ 37 หน้า.
Boonyaratpalin M. 1989. Seabass Culture and Nuytrition, p 43 – 91. In D.M. Akiyama (e.d.)        Procendings of the People’s Republic of China. Aquaculture and Feed Workshop. America        Soybean Association, Singapore.

ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงปลากระพงขาว
ในการเลี้ยงปลากระพงขาวมีการเลี้ยงปลากระพงดังนี้
1. การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากระพงขาว
2. การอนุบาลลูกปลากระพงขาว
3. การเลี้ยงปลากระพงในบ่อดิน
4. การเลี้ยงปลากระพงในกระชัง

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากระพงขาว
        ในการเลี้ยงปลากระพงขาว ส่วนแรกต้องมีแม่พันธ์ปลากระพงขาว ในการคัดเลือกแม่พันธ์ต้องคัดเลือก แม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง ในการเลี้ยงแม่พันธุ์ เลี้ยงในบ่อปูน ขนาด 20 X 40 เมตร (โดยประมาณ) ความลึกของน้ำประมาณ 1.5 เมตร อายุของแม่พันธุ์ 3-4 ปี ขึ้นไป โดยมีวิธีการสังเกตการออกไข่ในเวลา กลางคืน ช่วงขึ้นค่ำแรม 12-14 ค่ำ โดยสังเกตบนผิวน้ำ ถ้าปลาได้วางไข่ ไข่ก็ลอยบนผิวน้ำ
วิธีการเลี้ยงตัวอ่อน
เมื่อแยกตัวอ่อนออกจากถังฝักไข่แล้ว นำตัวอ่อนลงในบ่อเลี้ยง
1. เตรียมบ่อปูน
2. เตรียมน้ำ
3. นำตัวอ่อน ลงในบ่อเลี้ยงและพร้อมกับการเตรียมออกซิเจน
4. นำตัวอ่อนลงในบ่อปูน
การให้อาหารตัวอ่อน
         ชนิดของอาหารของตัวอ่อนของปลากระพงขาว ที่มีชื่อว่า “โรทีเฟอร์” ซึ่งมีลักษณะของโรทีเฟอร์ โรทีเฟอร์เป็น อาหารของปลาชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในน้ำ โดยจำพวกปลาที่เอามาบดและหมักมารวมกับ โรทีเฟอร์ หมักประมาณ 12 ชั่วโมง
วิธีการทำความสะอาดของตัวโรทีเฟอร์ ก่อนที่จะให้ปลากระพงซึ่งยังเป็นตัวอ่อนกิน
    ขั้นตอนแรก ต้มตัวโรทีเฟอร์แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และแช่โฟโมรินอย่างเจือจางและเก็บพักไว้ เพื่อเตรียมให้ปลา กระพงตัวอ่อนกิน ในการให้อาหารปลากระพงตัวอ่อน จำนวนมือที่ให้อาหาร ทั้งหมด 4 มื้อต่อวัน โดยจะมีการสังเกต โดยใช้วิธีการสุ่มตักตัวปลา ว่าตัวปลาได้กินอาหารทุกตัวหรือไม่ แต่ถ้าปลาบางตัวไม่ได้กิน ก็ให้เพิ่มปริมาณอาหารอีก จนกว่าที่จะได้กินทุกตัว ให้อาหารชนิดนี้ติดต่อกัน เจ็ด ถึง แปด สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนการให้อาหารเป็นชนิดอื่นต่อ เช่น อะทีเมียวัยอ่อน
วิธีการให้อาหารลูกปลาวัยอ่อนกินอะทีเมียวัยอ่อน
         เมื่อทำการแยกอทิเมียวัยอ่อนเสร็จแล้ว ก็นำตัวอะทีเมียให้ลูกปลาวัยอ่อนกิน โดยสังเกตการกิน ทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ลูกปลาขาดอาหาร
        ระยะเวลาในการให้อาหารโดยให้กับอะทีเมียวัยอ่อน แก่ลูกปลาวัยอ่อน นับจากการหยุดให้โรทีเฟอร์ คืออายุลูกปลา เลยวันที่เจ็ดหรือแปดวันขึ้นไป คือ อายุสิบห้าวัน คือประมาณ แปดวันหรือเก้าวันที่ต้องให้อาหาร อะทีเมีย คือต้องมีอายุของลูกปลา 15 วัน หลังจาก 15 วันแล้ว ต้องให้อาหารชนิดอื่นอีก ที่เรียกว่าไรแดง
         ระยะเวลาการให้ไรแดงแก่ลูกปลาวัยอ่อน นับจากการหยุดให้อาหารอะทีเมียวัยอ่อน เมื่ออนุบาลลูกปลา วัยอ่อน ถึงอายุ 20 วันแล้ว ปลาจะเปลี่ยนขนาด จำเป็นต้องทำการคัดปลาที่มีขนาดที่เท่ากันให้อยู่รวมกัน (คัดแยกขนาด ของปลากระพง) โดยขนาดของลูกปลาตอนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 2 เซนติเมตร – 1 นิ้ว ซึ่งยังคงอนุบาล ลูกปลาเหล่านี้ในบ่อปูน
การอนุบาลลูกปลากระพงขาว
         การอนุบาลปลากระพงจะเริ่มเลี้ยงในบ่อดิน เมื่อลูกปลามีขนาด 1-4.5 นิ้ว จะมีการเลี้ยงบ่อจะมี หลายขนาด 8*4 เมตร จะเลี้ยงปลาที่มีขนาด 1-2 นิ้ว บ่อขนาด 26*8 จะเลี้ยงปลาที่มีขนาด 3-4.5 นิ้ว ในการ ให้อาหาร จะให้อาหารปลาเป็ดที่ผสมวิตามินและเกลือแร่ อาหารแบบนี้จะเหมาะสมกับการเลี้ยงปลาเป็ดที่สด ราคาไม่แพง และผู้เลี้ยงต้องการให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น

วิธีการทำ
การให้อาหารปลาสด
        โดยใช้ปลาเป็ด 100 กิโลกรัม ผสมกับวิตามินและเกลือแร่ 0.5 กิโลกรัม เพื่อให้วิตามินและเกลือแร่ กระจาย ตัวทั่ว ควรนำวิตามินและเกลือแร่มาผสม เช่น รำ หรือแป้ง ในอัตรา 1:10 ให้เข้ากันดี หลังจากนั้นจึงนำไป คลุกเคล้า กับปลาเป็ดให้เข้ากันดีแล้วขึงนำไปให้อาหารปลา ถ้าสังเกตเห็นว่าปลาเป็ดที่ใช้เลี้ยงปลากระพงขาวผอม มีไขมันต่ำ และปลากระพงขาวกินอาหารลดลงบริเวณปากและครีบแดง ควรเสริมน้ำมันตับปลา 0.5% เป็นเวลาอย่างน้อย 1 อาทิตย์ หรือจนกว่าอาการดังกล่าวจะหายไป
การให้อาหารสำเร็จรูป
       อาหารแบบนี้เหมาะสำหรับแหล่งที่เลี้ยงปลากระพงที่หาอาหารสดได้ยาก หรือเลี้ยงเป็นปริมาณมาก อาหาร สำเร็จรูป โดยวิธีการทำดังนี้
         โดยต้องการใช้ให้นำอาหารสำเร็จรูปมาผสมวิตามินซีแล้ว จึงนำไปผสมกับกับแป้งเหนียวหรือแป้งสุก ผสม ให้เข้ากัน เพื่อให้อาหารเกาะตัวกันดี และเพิ่มปริมาณปลาป่นเพื่อให้ได้ระดับโปรตีนตามที่ต้องการ เสร็จแล้วผสม วัสดุที่มีปริมาณน้อยให้เข้ากันดีเสียก่อน เช่น วิตามิน เกลือแร่ และแป้งเหนียว จากนั้นจึงนำไปผสมกับปลาป่น จนเห็นว่าเข้ากันดี แล้วค่อย ๆ ใส่น้ำมันทีละน้อยจนกระทั่งผสมเข้ากันดีแล้วจึงใส่ถุงพลาสติก เก็บไว้ในที่แห้ง เย็น อากาศถ่ายเทได้ดี และปราศจากสัตว์รบกวน เมื่อต้องการใช้ให้นำอาหารสำเร็จรูปมาผสมน้ำในอัตราส่วน 100: 35 นวดให้เข้ากันดี แล้วอัดเป็นเส้นและเกลี่ยให้ให้หักเป็นท่อนๆ สั้น ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับปากของปลา อาหารสำเร็จรูปที่ผสมน้ำแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน เพราะถ้าเก็บไว้นานจะคืนตัว ทำให้อาหารไม่เกาะกัน และอาจบูดเหม็นเปรี้ยวได้
การเลี้ยงปลากระพงในกระชัง
         การเลี้ยงปลากระพงในกระชังจะเลี้ยงปลากระพงขาวที่ขนาด 4.5 นิ้ว เริ่มปล่อยในกระชังแล้วให้อาหาร ในช่วงแรก 1-2 เดือนแรกจะให้ปลาบดหรือปลาสำเร็จรูปที่กล่าวมาแล้วในขั้นต้น และจะเลี้ยงต่อ 3-4 จะให้ปลาสับ ซึ่งปลาสับนี้จะมีลักษณะ ปลา 1 ตัว จะสับได้ 3 ทอน ปลาจะเริ่มมีขนาด ใหญ่ 4-5 ขีด ในระยะเวลาต่อมา 5-6 เดือน จะให้ปลาสับ ช่วงนี้จะสับปลา ซึ่งจะสับ เป็น 2 ทอน ตามขนาดของปลา ซึ่งหลังจาก 8-9 เดือนขึ้นไป จะเริ่มขายปลาได้แล้ว และปลาจะมีขนาด 4 ขีด (มีประปราย) ถึง 1 กิโลกรัมขึ้นไปและเริ่มได้จำหน่ายได้ ถ้าสนใจที่จะเลี้ยงปลาขนาดจัมโบ้ จะเลี้ยงตั้งแต่ 9 เดือน – 3 ปี ขึ้นไป อาหารในการเลี้ยงปลา จัมโบ้จะให้อาหาร ปลาสด จะให้เป็นตัวๆ จะไม่สับแล้วเพราะปลาจะมีขนาดใหญ่ ปลาจะอยู่ในขนาด 2-5 กิโลกรัม
ตลาดการค้าปลากระพง ในประเทศและต่างประเทศ
         ข้อมูลเกี่ยวกับการค้าหรือการจำหน่ายปลากระะพงขาวในประเทศ จะจำหน่ายทั้งปลาขนาดเล็ก 1 นิ้ว ถึง 4.5 นิ้ว ซึ่ ขนาด 4.5 นิ้วขึ้นไปจะเริ่มเลี้ยงในกระชัง เส้นทางการจำหน่ายจะมีพ่อค้าคนกลางมารับที่บ่อ ถ้าพื้นที่ใกล้ที่รู้จัก เช่น เกาะยอ (จ.สงขลา) ตะโละกาโปร์ (อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี) เป็นต้น จะจัดส่งเอง โดยทำการลาก ปลากระพงเก็บ ไว้ในกระชังเล็ก (สีฟ้า) โดยส่วนมากจะจำหน่ายในขนาด 4.5 นิ้วเพราะจะเลี้ยงในกระชัง มีการจำหน่ายในราคา 8.5 –9 บาท (โดยประมาณ) ถ้าจัดส่งเอง ต้องเตรียมถังใส่ปลา ซึ่งบรรจุปลา 200 ตัว ต่อ 1 ถัง และต้องมีออกซิเจน ทุกถัง ในถังต้องมีตัวระบายออกซิเจน อย่างน้อย 2 ลูก
          ในการจำหน่ายในต่างประเทศประเทศมาเลเซีย ในการจำหน่ายประเทศมาเลเซียจะมีพ่อค้าคนกลาง มารับซื้อ โดยมารับที่ซื้อที่บ่อ โดยจะทำเช่นเดียวกับการจำหน่ายในประเทศแต่จะแตกต่างที่ ในการบรรจุจะบรรจุปลาใน ถังน้อยกว่าจำหน่ายในประเทศ จะบรรจุ 100 ตัว ต่อ 1 ถัง (โดยประมาณ) เส้นทางการค้า เส้นทางการค้าไปแถว อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และ อำเภอปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
ไปบางปะกง ดูงานเลี้ยงปลากะพงในกระชัง สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ชาวบ้าน
         ปากน้ำบางปะกง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำน้อยใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นหอย ปู ปลา ต่างแย่งอาศัยอยู่บริเวณนี้ ด้วยว่ามีแพลงก์ตอนหรือสาหร่าย ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำเกิดขึ้นอยู่ปริมาณค่อนข้างมาก มิแปลก ที่ปลาโลมา เข้ามาโฉบเป็นประจำ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนกันอย่างต่อเนื่อง
          ณ ที่แห่งนี้ มีผู้คนอาศัยอยู่หลายพันครัวเรือน และส่วนใหญ่ยึดอาชีพประมง ทั้งทำประมงชายฝั่งและบนฝั่ง ประมงชายฝั่ง ออกเรือหากุ้ง ปู ปลา และเลี้ยงปลาในกระชัง
         ประมงบนฝั่ง คือ เลี้ยงกุ้งกุลาดำ เลี้ยงปู และเลี้ยงปลาในบ่อดิน โดยดูดน้ำจากทะเลมาเก็บไว้ในบ่อ เลี้ยงสัตว์น้ำ หรือบ่อเก็บกักน้ำภายในฟาร์ม กล่าวสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชังที่ปากน้ำบางปะกงนั้น ส่วนใหญ่ เน้นปลากะพงขาว เป็นหลัก ด้วยว่าเป็นปลาที่สามารถปรับตัวกับสภาพน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งมีตลาดรับซื้อแน่นอน
        เมื่อปลาเจริญเติบโตได้ 7-8 ขีด หรือ อายุ 8-12 เดือน ผู้เลี้ยงปลาจะติดต่อพ่อค้าแม่ค้า เข้ามารับ ซื้อ ถึงฟาร์มเลี้ยงปลาเลยทีเดียว
         พ่อค้าแม่ค้าจะจับปลาเป็นๆ ใส่ถังน้ำ เปิดออกซิเจน บรรทุกรถยนต์วิ่งส่งตามร้านอาหาร ภัตตาคาร ตลาดสดในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ปลาเป็นๆ จะนำมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลา บ่อปูนซีเมนต์หรือบ่อผ้า เพื่อรอให้ผู้คนเข้ามาเลือกซื้อบริโภคต่อไป สำหรับราคาซื้อขายปลาหน้ากระชังนั้น อยู่ระหว่าง 90-120 บาท ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับฤดูกาล พ่อค้าแม่ค้าที่เข้ามารับซื้อนำไปขายต่อ โดยเฉลี่ยได้กำไร 20 บาท ต่อกิโลกรัม
         ร้านอาหาร หรือภัตตาคาร แปรรูปขายให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภคได้กำไร 50-150 บาท ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับที่ทำเลหรือความนิยมของผู้บริโภค
         ปลากะพงเป็นปลาน้ำกร่อย ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เนื้อมีรสชาติดี ยกเว้นปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน อาจมีกลิ่นโคลนติดอยู่บ้าง
         ที่ปากน้ำบางปะกง มีชาวบ้านเลี้ยงปลากะพงในกระชังอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ที่ตำบลบางปะกง กับที่ตำบลท่าสะอ้าน ทั้ง 2 แห่ง มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกระชังเลี้ยงปลากะพง ที่ริมแม่น้ำบางปะกงรวมๆ แล้วนับพันกระชัง ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะป้อนตลาดในกรุงเทพฯ
        คุณปัญญา เรืองสวัสดิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. (09) 602-3614 ก็เป็นอีกรายหนึ่งรายที่เลี้ยงปลากะพงในกระชัง สร้างงาน สร้างรายได้ เลี้ยงครอบครัวมานานเกือบ 4 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้เขายึดอาชีพเพาะพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำขาย แต่ระยะหลังๆ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากราคา ลูกกุ้งตกต่ำ จึงเปลี่ยนอาชีพใหม่
          "เมื่อ 10 ปีก่อน ราคารับซื้อลูกกุ้ง ตัวละ 11 สตางค์ แต่ระยะ 3-4 ปี ที่ผ่านมา เหลือเพียงตัวละ 3-5 สตางค์ เท่านั้น ซึ่งเป็นราคาพอๆ กับต้นทุนการผลิต ผมจึงเปลี่ยนเป็นอาชีพเลี้ยงปลากะพงในกระชังตามเพื่อนๆ บ้าน" ผู้ใหญ่ปัญญา เล่าถึงเหตุผลในการเปลี่ยนอาชีพใหม่
          พร้อมกับบอกย้อนกลับว่า "เหตุที่ราคารับซื้อผลผลิตลูกกุ้งต่ำนั้น เนื่องจากมีการแข่งขันกัน ประกอบอาชีพ นี้มากขึ้น อีกทั้งมีปัญหาเรื่องโรคระบาด นอกจากนี้ มาจากปัจจัยกุ้งใหญ่ราคาตกต่ำด้วย"
         เขามองไม่เห็นอนาคตในการเพาะพันธุ์ลูกกุ้งขาย จึงหันหลังให้กับอาชีพดังกล่าว
         "อาชีพใหม่ของผมนั้น ไม่ได้เตรียมตัวอะไรมากนัก เพราะว่ามีบ้านอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง และเห็นเพื่อนบ้าน ยึดอาชีพเลี้ยงปลากะพงมานานแล้ว จึงทำตามพวกเขา โดยเริ่มตั้งแต่สร้างกระชัง จากนั้นก็ซื้อลูกปลามาปล่อยเลี้ยง และให้อาหารทุกวัน เมื่อปลาโต หรือมีขนาด 6-7 ขีด ขึ้นไป ก็จับขายได้แล้ว" ผู้ใหญ่ปัญญา กล่าว
สร้างกระชัง งานที่ต้องลงทุน
         การสร้างกระชังเลี้ยงปลากะพงนั้น เขาจะไม่ใช้ทุ่นหรือถังน้ำมันอะไรเลย แต่ใช้ไม้ไผ่แทน โดยการปักลง ในดินเลน เพื่อให้เป็นเสาหลัก นอกจากนี้ ยังใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโครงหรือขอบกระชังด้วย แต่เสาห่างกัน 6 เมตร เนื่องจากอวนที่นำมาเย็บเป็นกระชังมีความกว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร ลึก 4 เมตร
          "ไม้ไผ่ที่ผมนำมาทำเป็นเสานั้น จะเป็นไผ่เลี้ยง ซึ่งมีลักษณะเป็นลำใหญ่ และแข็งแรง มีอายุใช้งานนาน ถึง 2 ปี โดยซื้อมาลำละ 250 บาท"
        "เมื่อเลี้ยงปลาได้ 2 ปี หรือ 2 รุ่น ผมจะเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระชังหรือไม้ไผ่ เพราะว่า กลัวมันจะหักพังตอนที่กำลังเลี้ยงปลา อาจทำให้ปลาหนีออกนอกกระชังได้ ซึ่งเป็นการเสี่ยงเกินไป"
          เขาจะสร้างกระชังคู่กันขนานกับชายฝั่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดเสาไม้ไผ่นั่นเอง ทุกๆ กระชัง ผู้ใหญ่ปัญญาจะหาไม้เนื้อแข็งมาวางบนขอบกระชัง เพื่อสะดวกในการดูแลหรือให้อาหาร
         "เราใช้ไม้เนื้อแข็งทำเป็นสะพานเดินได้รอบกระชัง ถึงแม้ว่ามันเป็นการลงทุนค่อนข้างมาก แต่ก็มีอายุ ใช้งานนานหลายทีเดียว เพราะว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง"
       เขาบอกว่า ในการทำกระชังแต่ละครั้งจะใช้เงินหลายหมื่นบาท เพราะว่าเราสร้างแบบที่แข็งแรง โดยเฉพาะ ไม้ไผ่นี้ ซื้อเฉพาะลำโตๆ เท่านั้น
ซื้อพันธุ์ปลามาเลี้ยง
         พันธุ์ปลากะพงที่เขาซื้อมาเลี้ยงนั้น มาจากฟาร์มเพาะลูกพันธุ์ปลาในบ่อดิน จังหวัดฉะเชิงเทรานั้นเอง ซึ่งผู้ใหญ่ปัญญา บอกว่า ส่วนใหญ่ผมจะซื้อลูกปลามาเลี้ยงในกระชัง ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เพราะว่า เป็นฤดูร้อน ทำให้น้ำในบ่ออนุบาลลูกปลาแห้ง     ส่งผลให้เจ้าของฟาร์มเพาะพันธุ์เร่ง จำหน่ายพันธุ์ปลา ในราคา ถูกกว่าช่วงอื่นๆ
        "ผมจะซื้อลูกปลา ขนาด 4 นิ้ว มาปล่อยเลี้ยงในกระชัง ซึ่งปลาขนาดดังกล่าวราคาอยู่ที่ตัวละ 3 บาท แต่ถ้าช่วงอื่นๆ ราคาอาจเพิ่มถึง 5 บาท ต่อตัว ก็ได้" แต่ละกระชังเขาจะปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง ประมาณ 8,000 ตัว
          "ส่วนใหญ่ผมจะปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นๆ หากนำลูกปลามาปล่อยตอนเที่ยงๆ อุณหภูม ิของน้ำจะไม่แน่นอน เมื่อปล่อยปลาลงเลี้ยงอาจช็อกน้ำตายได้"
         หลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงในกระชังแล้ว เขาไม่ให้อาหารหรือไปรบกวนอะไรเลย ปล่อยให้ปลาปรับตัวเข้ากับ สถานที่ใหม่ประมาณ 1 คืน จากนั้นก็เริ่มให้อาหาร
ซื้ออาหารปลาทะเลให้กินทุกวัน
        เขาจะซื้อปลาทะเล พวกปลาทู ปลาข้างเหลือง มาเข้าเครื่องบด 2-3 ครั้ง เมื่อได้เนื้อปลาค่อนข้าง ละเอียดแล้ว ก็นำไปหว่านให้ลูกปลากินเป็นอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะกินช่วงบ่าย 3 โมงเย็น
         "แรกๆ ลูกปลาจะไม่ค่อยกินอาหารมากนัก เพราะว่ายังตื่นอยู่ แต่เมื่อคุ้นเคยกับสถานที่ใหม่แล้ว จะกินอาหารเก่งมากเลย"
         "พวกปลาทะเลนี้ เราต้องเลือกปลาสดมาเป็นอาหารของปลากะพง หากไม่สด มันก็เสี่ยงต่อการเป็นโรค ได้เหมือนกัน"
         เขาบอกว่า เมื่อก่อนต้องเดินทางไปซื้อปลาทะเลหรือปลาเหยื่อที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องแล้ว เพราะว่ามีพ่อค้าเข้ามาบริการส่งปลาเหยื่อถึงหน้ากระชังเลี้ยงปลาเลยทีเดียว
        ผู้ใหญ่ปัญญา จะให้อาหารปลาวันละ 1 ครั้ง โดยมีปริมาณดังนี้ หากเลี้ยงปลาได้ 1-2 เดือน จะให้อาหาร วันละ 3-4 กิโลกรัม ต่อกระชัง ถ้าปลาอายุ 2-4 เดือน ก็ให้วันละ 60 กิโลกรัม ต่อกระชัง
        ปลาอายุระหว่าง 5-6 เดือน ก็ให้อาหารวันละ 100 กิโลกรัม ต่อกระชัง ปลาอายุระหว่าง 7-8 เดือน ก็ให้อาหารวันละ 150 กิโลกรัม ต่อกระชัง
        "ปลากะพงนี้มันกินอาหารเก่งมาก เราเลี้ยงปลา 14 กระชัง นี้มีต้นทุนค่าอาหารเมื่อคิดรวมกันแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท โดยเฉพาะช่วงนี้น้ำมันราคาแพง ปลาเหยื่อก็แพงไปด้วย จากราคากิโลกรัมละ 7 บาท เดี๋ยวนี้กระโดดสูงถึง 12 บาท เลยทีเดียว"
       เขาพูดว่า บอกกันตรงๆ เลยว่า ขณะนี้การเลี้ยงปลากะพงเป็นอาชีพเริ่มมีกำไรน้อยลงเรื่อยๆ แล้ว เนื่องจากปลาเหยื่อแพง ขณะเดียวกันราคารับซื้อผลผลิตปลายังทรงตัวอยู่ที่ 100 บาท ต่อกิโลกรัม
      "เรายังมีกำไรอยู่บ้าง แต่ไม่เหมือนเมื่อก่อนหรือ 1-2 ปี ที่ผ่านมาเพราะว่าราคาปลาเหยื่อกิโลกรัมละ 7 บาท เท่านั้นเอง ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ขายปลาแต่ละครั้งได้กำไรค่อนข้างมาก" ผู้ใหญ่ปัญญา กล่าว
        ในการเลี้ยงปลาแต่ละรุ่นนั้นก็จะใช้ระยะเวลาขุนปลานานถึง 8-11 เดือน ถึงจะได้ผลผลิตปลา 6-7 ขีด ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ
      "เราปล่อยปลาลงเลี้ยงกระชังละ 8,000 ตัว เหลือรอดชีวิตอยู่ได้จนมีอายุ 8 เดือน โดยเฉลี่ย 5,000 ตัว แต่ในจำนวนนั้น ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เราต้องเลี้ยงต่อไปอีก 2-3 เดือน เพราะว่าเป็นปลาตกไซซ์ จำเป็นต้องซื้ออาหารมาขุนต่อจนกว่าปลาได้น้ำหนัก 6-7 ขีด"
      เขาบอกว่า ปัจจุบันนี้ อาชีพการเลี้ยงปลากะพงในกระชัง เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมีกำไรเพียงเล็กน้อย แต่ยังถือ ว่าเป็นอาชีพที่ไม่เสี่ยงมากนัก เพราะว่าไม่ค่อยมีโรคระบาดเกิดขึ้น อีกทั้งมีพ่อค้าแม่ค้า เข้ามารับซื้อตลอดทั้งปีด้วย
      "เหตุที่ปลาแต่ละกระชังเหลือเพียง 5,000 ตัว จาก 8,000 ตัว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่า การนำลูกปลาจากบ่อดินมาเลี้ยงในกระชัง ระยะเดือนแรกๆ จะเสียหายมาก สาเหตุมาจากปลา บางตัวไม่สามารถ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ แต่หลังจากนั้นก็เสียน้อยมาก ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นเกือบ ทุกกระชัง" ผู้ใหญ่ปัญญา กล่าวทิ้งท้าย
       ดวงอาทิตย์ใกล้ตกขอบฟ้า หน้าที่ประจำวันของผู้ใหญ่ปัญญาและชาวบ้านที่ปากน้ำบางปะกงก็เบาบางลง และพัก ผ่อนในยามค่ำคืน คอยวันรุ่งขึ้นค่อยต่อสู้ชีวิตกันใหม่
ที่มา : ศุภชัย นิลวานิช วารสาร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 348 หน้า 66
การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ที่เกาะยอ
      "เกาะยอ" จังหวัดสงขลา ไม่เพียงมีจุดชมวิวสวยๆ รอบๆ เกาะเท่านั้น ยังมีร้านอาหารที่ตั้งบนเนินเขา เท่ห์ไม่เหมือนใครอีกด้วย
        ร้านอาหารทะเลสดๆ หลายร้านตั้งเรียงรายกันอยู่หลายแห่ง เหมือนเกาะฮ่องกง ซึ่งส่วนใหญ่วัตถุดิบ ของอาหาร มาจากท้องทะเลไทย และส่วนหนึ่งในกระชังเลี้ยงปลาของชาวบ้าน ในธรรมชาติ ปลากะพงขาว เป็นปลาเศรษฐกิจ ของชาวบ้านที่นิยมเลี้ยงในกระชัง เพื่อส่งขายให้กับร้านอาหารบนเกาะยอ ปลากะพงชอบอาศัยอยู่ใน บริเวณน้ำกร่อย ตามปากแม่น้ำที่ติดกับทะเล และสามารถอาศัยอยู่ในน้ำจืดของแม่น้ำลำคลองได้
        ปลาชนิดนี้มีลักษณะตัวแบนยาว ตรงกลางนูนเล็กน้อย ปากกว้าง ฟันคมเล็กละเอียด ริมฝีปากล่าง ยื่นยาวกว่า ริมฝีปากบนเล็กน้อย กระดูกแก้มมีขอบเป็นหยักละเอียด ลำตัวตอนบนสีฟ้าอมเขียว ด้านข้างและส่วนท้อง สีขาวเงิน ครีบหางสีดำ
         ผู้เขียนได้รับการแนะนำให้รู้จักกับคุณจำลอง เครือวัลย์ อายุ 39 ปี เป็นชาวเกาะยอ จังหวัดสงขลา ผู้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลากะพงขาวมา 10 กว่าปีแล้ว โดยมี คุณกรองแก้ว เครือวัลย์ ภรรยาคู่ชีวิตเป็นผู้ช่วย ทั้งสองคนได้นำผู้เขียนผ่านวัดแหลมพ้อเพื่อลงเรือหางยาวที่ใช้เครื่องยนต์ขับออกไปจากชายฝั่งของเกาะยอ         สักประมาณ 400 เมตร เพื่อขึ้นที่พัก ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "หนำ" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้นอนพักค้างคืนได้ รอบๆ บริเวณหนำจะมีกระชังเลี้ยงปลาขนาดต่างๆ กัน
        คุณจำลองเล่าว่า "ผมลาออกจากชีวิตราชการมานานแล้วครับ อาชีพต่อมาคือ ออกทะเลหาปลา ขับรถ สองแถว เมื่อเจอกับปัญหาน้ำมันแพงจึงขายรถสองแถวแล้วเอามาใช้เป็นทุนในการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง พร้อมกับ หาปลาอย่างอื่นโดยใช้เครื่องมือเล็กๆ ประเภท กัด เบ็ด ไซ ทำควบคู่กัน ปัจจุบันผมเลี้ยงทั้งหมด จำนวน 10 กระชัง ครับ"
        สำหรับการเลี้ยงปลากะพงเป็นอาชีพนั้นคุณจำลองเล่าถึงการเตรียมความพร้อมและมีขั้นตอนการเลี้ยงดังนี้
1. หาสถานที่ที่เหมาะกับการสร้างหนำเพื่อวางกระชัง
2. ต้องมีเรือหางยาวพร้อมเครื่องยนต์ขับ
3. ติดต่อซื้อลูกพันธุ์ปลา ซึ่งมีขายทั้งของกรมประมงและของเอกชน หรือจะใช้อวนลากไปหาตามแหล่งน้ำตาม ธรรมชาติก็ได้ เอามาพักฟื้นไว้ในบ่ออนุบาล ประมาณ 1-2 เดือน โดยให้อาหารที่เป็นเนื้อปลาบดหรือเนื้อ หั่นชิ้นเล็กๆ หรือกุ้งขนาดเล็กมาให้กิน สำหรับคุณจำลองได้สั่งซื้อจากบ่ออนุบาลของเอกชน ในราคานิ้วละ 3 บาท และเริ่มต้นเลี้ยงที่ขนาด 6 นิ้ว
4. การทำกระชังทำเป็นกระชังลอยซ้อนกันสองชั้น โดยไม่ให้ติดกัน ใช้ไม้หลาโอนซึ่งเป็นไม้ท่อนกลมๆ ทั้งต้น สำหรับ 1 กระชัง ใช้ไม้หลาโอนประมาณ 5-6 ท่อน ปักล้อมเป็นวงกลมลงในน้ำ แล้วใช้ตาข่ายไนลอนตาถี่ ที่มีสีแตกต่างกัน 2 สี ขึงยึดกับเสาไม้หลาโอนให้ขึงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น เช่น ชั้นในขึงไนลอนสีขาวผูกยึดกับไม้เสาด้านบน กะระยะต่ำ ลงมาให้พอดี ขึงยึดไนลอนสีน้ำเงินเป็นกระชังด้านนอก ขนาดกว้างยาวประมาณ 5 เมตรครึ่ง ลึก 2 เมตรครึ่ง ความลึกของระดับน้ำในกระชังลึกประมาณ 1 เมตรครึ่ง สามารถเลี้ยงปลาได้ประมาณ 500-600 ตัว
5. อาหารปลาที่ใช้ได้ซื้อจากท่าเรือประมงเป็นลูกปลาเล็กๆ ชนิดต่างๆ ที่ผสมปนเปกัน ถ้าเป็นอาหาร ของปลา ขนาดเล็กที่เลี้ยงต้องบดเสียก่อนและให้อาหารกินทุกวัน สำหรับปลาขนาดใหญ่ไม่ต้องบด แต่ให้อาหารกินวันเว้นวัน และทุกขนาดที่เลี้ยงให้กินวันละครั้งเท่านั้น ปริมาณที่ให้กินจะต้องกะให้พอดีกับจำนวนปลา เช่น ปลา 400 ตัว ต่ออาหารปลา 60 – 70 กิโลกรัม และไม่ควรให้เหลือเป็นเศษอาหารหลงเหลืออยู่ในกระชัง เพราะจะทำให้ปูได้กลิ่น แล้วใช้ก้ามหนีบตาข่ายไนลอนขาดได้ หลังจากจับปลาแต่ละครั้งให้ล้างกระชังและตากแดดให้แห้ง จึงจะเอาไป ใช้ใหม่ได้
คมสัน หนูวิน กับอาชีพเลี้ยงปลากะพง-เก๋า-หอยนางรม ที่ดอนสัก
         ปากน้ำดอนสัก ผู้คนอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ด้วยว่าเป็นอำเภอที่อยู่ติดกับเกาะสมุย ซึ่งเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวระดับโลก ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะสัตว์น้ำชุกชุม จึงทำให้เกิดชุมชนขนาดใหญ่
         ที่นี่นอกจากอยู่กับชายทะเลแล้ว ยังมีคลองขนาดใหญ่นำน้ำจืดจากเทือกเขาไหลผ่านไร่นา และตัวเมืองดอน สักสู่ทะเล มิแปลกจึงมีอาชีพการประมงเกิดขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปลากะพง ปลาเก๋า หอยนางรม และหอยแมลงภู่ รวมทั้งออกเรือจับปลาในทะเลอีกด้วย
         นั่งเรือจากตัวเมืองดอนสักทวนกระแสน้ำไปตามคลองเกือบ 2 กิโลเมตร มองบนฝั่งเห็นบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในลำคลองเป็นกระชังเลี้ยงปลาของชาวบ้านหลายราย แต่ไม่ใหญ่นัก ยกเว้นของ คุณคมสัน หนูวิน เลขที่ 39 หมู่ 9 ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. (01) 396-0859 มีมากเกือบ 100 กระชัง เลยทีเดียว
เรือจอดสนิทที่ชานหน้าบ้านริมฝั่งคลอง ห่างจากกระชังเลี้ยงปลาราว 20 เมตร บนบ้านร่มเย็นยิ่งนัก ด้วยเหตุไอน้ำ และต้นไม้ปกคลุม
        คุณคมสัน มองไปที่กระชังเลี้ยงปลาแล้วบอกว่า "อาชีพนี้ทำรายได้ให้ผมเกือบ 20 ปีแล้ว ผมเริ่มจากทดลอง เลี้ยงปลาเก๋า 4 กระชัง เมื่ออายุได้ 22 ปี ขายปลาเลี้ยงครอบครัวมาตลอด"
         จาก 4 กระชัง ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยว่าประสบความสำเร็จกับการเลี้ยงปลาเกือบทุกรุ่น ทำให้มีเงินและ กำลังใจขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น
         "ช่วงที่ยึดอาชีพนี้ใหม่ๆ ผมเลี้ยงปลาเก๋าอย่างเดียว ต่อมาก็ทดลองเลี้ยงปลากะพงไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ประสบ ความสำเร็จทั้งนั้น นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากผลพลอยได้ของหอยนางรมและหอยแมลงภู่ เพราะว่าสัตว์นี้พวกนี้มัน ชอบมาอาศัยตามขอบกระชังและทุ่น รวมทั้งก้อนอิฐที่ใช้ถ่วงกระชังด้วย"
         ตอนนี้เขามีกระชังเลี้ยงปลาเก๋า14 กระชัง ปลากะพง 76 กระชัง
        "ในอดีตนั้นในลำคลองแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำกร่อยนานาชนิด เพราะว่าใกล้ๆ กับทะเล ดังนั้น ลูกปลาเก๋าและปลากะพงมีจำนวนมาก ซึ่งสามารถเสาะหาหรือรับซื้อจากชาวบ้านแถวนี้ได้ แต่ปัจจุบันนี้หายากมาก ผมต้องไปซื้อมาจากแถวๆ จังหวัดสตูล และปัตตานี ยกเว้นพวกหอยนางรม และหอยแมลงภู่ ส่วนใหญ่ไม่ต้องหา ที่ไหนเลย โดยเฉพาะหอยนางรมนั้น แถวนี้มีมากเป็นพิเศษ สัตว์พวกนี้กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารและขยายพันธุ์ กันเร็วมาก" คุณคมสัน กล่าว
        เขาใช้ระยะเลี้ยงปลากะพง โดยประมาณ 10 เดือน ก็ได้ไซซ์ปลาตามที่ตลาดต้องการแล้ว คือปลา 7-8 ขีด จำหน่าย 100-110 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนปลาเก๋านั้นจะเลี้ยงนานถึง 18 เดือน ถึงจะจับปลาขายได้ เพราะว่าตลาดชอบปลาใหญ่ขนาดระหว่าง 1.1-1.2 กิโลกรัม ซึ่งให้ราคาสูง 250 บาท ต่อกิโลกรัม ทีเดียว
         สำหรับหอยนางรมนั้นใช้ระยะการเลี้ยงนานถึง 1 ปี ก็จะได้ผลผลิตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ผู้บริโภคชอบ โดยเขาจะจำหน่ายตัวละ 8 บาท
        "การผลิตสัตว์น้ำของผม ไม่ว่าปลาเก๋า ปลากะพง และหอยนางรม เราจะหมุนเวียนจับขายตลอด อย่างน้อยๆ 1 เดือน ต่อครั้ง เนื่องจากผมมีหลายกระชัง มีปลาหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ จับปลาตัวใหญ่ อีกไม่นานปลารุ่นเล็ก จับขายได้อีก มันจะหมุนเวียนเป็นอย่างนี้อยู่ตลอด"
        "อย่างไรก็ตาม ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมจะมีปลาอยู่ในกระชังค่อนข้างน้อย เพราะว่าจะ มีฝนตกชุกและมีพายุเข้า ทำให้น้ำในคลองกลายเป็นน้ำจืดหลายวัน ปลาที่เลี้ยงไว้จะไม่ค่อยกินอาหาร และ บางส่วนปรับตัวไม่ได้ก็จะตายไปในที่สุด ดังนั้น ก่อนถึงช่วงระยะเวลาดังกล่าวผมก็ทยอยจับปลาออกขาย ทั้งนี้ เพื่อความไม่ประมาท ส่วนหอยนางรมนั้นมันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าปลา ไม่จำ เป็นต้องจับขายก็ได้" คุณคมสัน กล่าว
        ตลาดรับซื้อผลผลิตปลาและหอยของเขามีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งขายให้กับ ร้านอาหาร และภัตตาคาร เนื่องจากราคารับซื้อจะดีกว่าตลาดทั่วๆ ไปนั่นเอง
        "ปลากะพง ปลาเก๋า และหอยนางรม ที่ผมเลี้ยงไว้นี้ ส่วนใหญ่จะวิ่งขายเอง มีน้อยมากที่จะให้กับพ่อค้า คนกลางหรือตลาดสดทั่วๆ ไป เพราะว่าราคารับซื้อไม่ค่อยยุติธรรมคือ บางวันเราจับปลาขายมาก ก็จะถูกกดราคา แต่ถ้าวันไหนไม่มีปลาราคาก็สูง มันไม่แน่นอน สู้เราส่งร้านอาหารหรือภัตตาคารไม่ได้" คุณคมสัน กล่าว
        เขาบอกว่า ช่วงแรกๆ ก็หนักใจเรื่องตลาดเหมือนกัน แต่เมื่อคิดได้ว่ามีร้านอาหารและภัตตาคารอีกเยอะ ที่ต้องการปลาสดๆ หอยเป็นๆ ไว้บริการลูกค้า เราก็เข้าไปติดต่อกับผู้จัดการ ซึ่งส่วนใหญ่เขาไม่ปฏิเสธ
          "ตอนนี้ผลของเราส่วนใหญ่ส่งขายในตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างเดียว ส่วนจังหวัดอื่นๆ มีน้อย เพราะว่า มีสินค้าไม่เพียงพอ แต่อนาคตไม่แน่ ถ้าขยายกิจการเพิ่มขึ้นอีก คงจะวิ่งส่งขายต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ ด้วย และใครให้ราคาดีกว่า ก็ส่งขายคนนั้นไป" คุณคมสัน กล่าว
6. จากธรรมชาติที่เอื้ออำนวยในการเลี้ยงปลากะพงขาวแห่งนี้ ปลาที่ได้นั้นเรียกได้ว่าเป็นปลาสองน้ำ หมายถึง ในช่วงที่มีฝนตกชุกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมเป็นช่วงที่มีน้ำกร่อย และเมื่อถึงเดือน กุมภาพันธ์และ เดือนมีนาคมฝนหยุดตก น้ำจะเริ่มเค็มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีความเค็มสูงสุด 23 ppt ซึ่งในช่วงต่อ ของการ เปลี่ยนน้ำตามธรรมชาตินี้เองต้องปรับลดการให้อาหารปลาลงเหลือแค่ 70% เพราะถ้าหากให้กินมาก ในช่วงนั้นปลาจะท้องอืดตายได้
7. การไหลเวียนของน้ำมีความสำคัญมาก เพราะหากน้ำไม่ไหลเวียนจะทำให้ปลามีกลิ่นสาบ ดังนั้น ผู้เลี้ยงจะ ต้องคอยดูว่า หากเกิดน้ำนิ่งนานๆ ให้ใช้ใบพัดของเครื่องเรือหางยาวติดเครื่องหมุนพัด น้ำให้เกิดการไหลเวียน ผ่านเข้ากระชังที่เลี้ยงปลา
8. ให้คอยระวังไม่ให้มีไรน้ำเกาะเหงือกปลา ซึ่งจะทำให้ปลาตายได้ การฆ่าไรน้ำ ให้ใช้ปูนขาว ขนาด ถุงละ 10 กิโลกรัม ใส่ลงไปในกระชัง กระชังละ 2 ถุง
9. ระยะเวลาของการเลี้ยงนั้นขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยง หากเลี้ยงนานต้นทุนจะสูงขึ้นตามอาหารปลา ถ้าต้องการ แค่ปลาจาน ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 6 ขีด - 1 กิโลกรัม จะใช้เวลาเลี้ยงแค่ 10 เดือน สำหรับฟาร์มของคุณจำลอง จะจับเมื่อ ปลามีอายุ 20 เดือน ขึ้นไป เพราะจะได้ปลากะพงขาวที่มีเนื้อเป็นแก้วและมีรสชาติที่อร่อยกว่า
10. ควรจับปลาในช่วงน้ำเค็ม เพราะขณะที่จับนั้นปลาจะเกิดชนกัน ซึ่งความเค็มของน้ำนี้เองจะช่วยรักษาเนื้อ ปลาไม่ให้เกิดรอยช้ำขึ้นได้
11. ตามกระชังด้านนอกจะมีหอยแมลงภู่มาเกาะเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถเก็บเอาไปขายเป็นรายได้ อีกทาง หนึ่งด้วย
         นี่ก็เป็นข้อมูลที่ได้จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลากะพงขาว มานาน ซึ่งเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างนี้ เนื่องจากปลาชนิดนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคุณจำลองบอกว่า "เลี้ยงได้เท่าไร ก็ขายได้หมด โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงฟาร์ม ถ้าเป็นปลาที่มีอายุ 20 เดือน จะขายได้ราคากิโลกรัมละ 120-125 บาท การเริ่มต้นเลี้ยงต้นทุนจะสูง ต่อมาก็อยู่ที่ราคาของอาหารปลา แต่ถ้าจ้างคนเลี้ยงจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นด้วย สำหรับฟาร์มของผมทำกันเองภายในครอบครัวครับ"
หากผู้อ่านท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อโดยตรงกับ คุณจำลอง เครือวัลย์ บ้านเลขที่ 2/1 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ (074) 450-029 (09) 977-4414
ที่มา : จันทร์เพ็ญ โทร. (04) 750-4704 วารสาร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 17
ฉบับที่ 346 เทคโนโลยีการประมง หน้า 105

สร้างกระชังเลี้ยงปลา
         กระชังเลี้ยงปลาของเขาจะออกแบบทำโครงสร้างที่แข็งแรง โดยใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นหลัก และถังพลาสติก เป็นทุ่น คุณคมสัน จะซื้ออวนมาทำกระชัง โดยแต่ละกระชังมีความกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 1.5 เมตร กระชังขนาดดังกล่าวสามารถปล่อยปลากะพงลงเลี้ยงได้ 300 ตัว ส่วนปลาเก๋านั้นไม่ต้องหนาแน่นมาก เพียง 100-150 ตัว ก็เพียงพอแล้ว
         "เราจะซื้อลูกปลาขนาด 6-7 นิ้ว มาปล่อยเลี้ยง และทุกๆ 3 เดือน จะมีการคัดเลือกขนาดปลา ถ้าโตช้าหรือ เร็วเกินไป ก็ถูกปล่อยเลี้ยงในกระชังอื่นคือ จำเป็นต้องเลี้ยงให้ขนาดเท่าๆ กัน เพื่อป้องกันการให้อาหาร ไม่เช่นนั้น ปลาจะมีขนาดต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว ต้องเลี้ยงในอัตราหนาแน่นไม่มากนักด้วย" คุณคมสัน กล่าว
        เหตุผลที่เขาซื้อลูกปลา ขนาดใหญ่ หรือขนาด 6-7 นิ้ว มาปล่อยเลี้ยงนั้น เพราะว่าจะมีอัตรารอดชีวิต สูงกว่าซื้อลูกปลาตัวเล็กๆ มาเลี้ยงเยอะทีเดียว
         "ผมยอมซื้อลูกปลาแพง เพื่อต้องการให้รอดชีวิตสูง ซึ่งทางมองให้แง่ธุรกิจถือว่าคุ้มค่ากว่ามากทีเดียว"
ลูกปลากะพงและปลาเก๋าขนาดดังกล่าวตัวละ 15 บาท และ 30 บาท ตามลำดับ

ปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง ต้องมีเทคนิค
         กระชังที่เลี้ยงลูกปลานั้นจะมีซาแรนป้องกันแสงแดดด้วย ส่วนกระชังเลี้ยงปลาใหญ่ไม่มี
         "ลูกปลาที่นำมาเลี้ยง ส่วนใหญ่ผมให้เขาขนส่งกลางคืน มาถึงเช้าๆ ยิ่งดี เพราะว่าอุณหภูมิของน้ำ ไม่สูงมากนัก เมื่อมาถึงจะปรับอุณหภูมิมาให้เท่ากันเสียก่อน โดยการนำถังหรือถุงบรรจุปลาแช่ในน้ำใกล้กระชัง ทิ้งไว้สัก 15-30 นาที ก็ค่อยๆ ปล่อยปลาลงเลี้ยงในกระชัง ไม่เช่นนั้นปลาช็อกน้ำตายได้"
        เขาปล่อยให้ลูกปลาปรับตัวเข้าสถานที่ใหม่ 1 วันเต็มๆ วันที่ 2 ก็เริ่มให้อาหาร โดยซื้อปลาข้างเหลืองหรือปลาหลังเขียวมาบดละเอียด โยนให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
         " เราเลี้ยงลูกปลาในกระชังจนครบ 1 เดือน ปลาก็แข็งแรง เราดึงซาแรนออก ปล่อยให้แสงแดดเข้าสู่ บ่อเลี้ยงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์"
          "หากให้อาหารกินทุกๆ วัน วันละ 2 ครั้ง และความเค็มของน้ำคงที่หรืออยู่ระหว่าง 30-35 ppt ความเสียหายก็น้อย ซึ่งที่ผ่านๆ มา อัตรารอดชีวิตสูง 80 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว"
"แต่ถ้าเรานำลูกปลาตัวเล็กๆ ขนาด 1-2 นิ้ว มาอนุบาลและเลี้ยง อัตรารอดชีวิตจะน้อยมากๆ ระยะหลังๆ นี้ ผมซื้อปลา 6-7 นิ้ว มาเลี้ยงดีกว่า ถึงแม้ว่าราคาแพง แต่ผลตอบแทนมันคุ้มค่ากว่ากันเยอะเลย" คุณคมสัน กล่าว
ปลากะพงเจริญเติบโตเร็วกว่าปลาเก๋า
        เขานำปลาขนาด 6-7 นิ้ว มาเลี้ยงในกระชังผ่านไป 3 เดือน ปรากฏว่า ปลากะพงเจริญเติบโต เป็นปลาขนาด 10-11 นิ้ว ส่วนปลาเก๋าอยู่ระหว่าง 8-9 นิ้ว ทั้งๆ ที่ให้อาหารเหมือนกัน
         "เหตุผลที่ปลากะพงโตกว่าปลาเก๋า ก็เพราะว่าเป็นธรรมชาติของปลา ไม่ใช่ขั้นตอนการเลี้ยง"
หลังจากเลี้ยงปลาครบ 3 เดือน เขาคัดเลือกปลาและปล่อยปลาลงเลี้ยงในอัตราหนาแน่นน้อยลง กล่าวคือ ปลากะพงเหลือเพียง 150 ตัว ปลาเก๋า 100 ตัว ต่อกระชัง
        "ช่วงนี้ปลาเก๋ากินอาหารวันละ 1 กิโลกรัม ต่อกระชัง หรือ 100 ตัว ส่วนปลากะพง 2 กิโลกรัม ต่อกระชัง หรือ 150 ตัว" และเมื่อปลาโตขึ้นเรื่อยๆ เขาก็เพิ่มปริมาณอาหารตามไปด้วย
         "อัตราแลกเนื้อของปลาเก๋าและปลากะพงนั้น เท่าที่ทดลองเก็บข้อมูลไว้คือ ให้อาหารปลาเก๋า 6 กิโลกรัม จะได้เนื้อปลา 1 กิโลกรัม สำหรับปลากะพงสิ้นเปลืองอาหารน้อยกว่าคือ 5 ต่อ 1 หมายความว่า เราซื้ออาหาร ให้ปลากิน 5 กิโลกรัม มันได้เนื้อปลาหรือน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม" คุณคมสัน กล่าว
        เหตุผลที่เขาเก็บข้อมูลค่อนข้างละเอียดนั้น ไม่เพียงเพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องการ ถ่ายทอด ให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือประชาชน ที่เข้ามาเยี่ยมชมด้วย เนื่องจากที่นี่ได้กลายเป็นแหล่งดูงาน การเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการค้าไปแล้ว ไม่ประหลาดใจเลยที่คุณคมสัน ได้ถูกคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาเลี้ยงปลาในกระชัง ระดับจังหวัด เมื่อปี 2546 รางวัลโล่เกษตรกรดีเด่นที่ได้รับ เป็นสิ่งที่เขาภาคภูมิใจเป็นอย่าง มาก และ เป็นแรงขับเคลื่อนให้ขยายกิจการต่อไป


*สภาพภูมิประเทศดอนสัก
        มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ ด้านทิศตะวันตก และติดต่ออำเภอขนอม ทางทิศตะวันออก สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมฝั่ง สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 20 เมตร มีคลองดอนสักเป็นคลองสำคัญ ซึ่งสองข้างฝั่งคลองเป็นที่ลุ่มป่าชายเลน สภาพพื้นที่เหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางการประมง และพัฒนา ให้เป็นศูนย์กลางท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลและเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในอ่าวไทย ส่วนพื้นที่ด้านตะวันออกเป็นที่ราบสูง และเนินเขาลูกเล็กๆ ลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้เหมาะแก่การ ทำสวน มีสภาพอากาศอบอุ่นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24.7 องศาเซลเซียส มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน
ที่มา : ศุภชัย นิลวานิช วารสาร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” รายงานพิเศษ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 345 หน้า 58

เลี้ยงปลาด้วยเมล็ดปาล์ม ลดต้นทุนได้ดี ที่ดอนสัก
         ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพืชดังกล่าว รวมๆ แล้วเกือบ 3 ล้านไร่ สร้างงาน และรายได้ให้กับชาวบ้านจำนวนมากมาย โดยเฉพาะในช่วงนี้ ด้วยว่าราคา รับซื้อยางพารา และปาล์มน้ำมันค่อนข้างสูงนั่นเอง
        อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับดูข้อมูลเมื่อ 6-7 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ราคารับซื้อผลผลิตพืชดังกล่าวต่ำกว่า ต้นทุนการผลิต มิแปลกที่ชาวบ้านบางคนโค่นทิ้งหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน
          ลุงสมปอง หินมี เลขที่ 39/1 หมู่ 3 ตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสวนปาล์มน้ำมันอยู่ 20 ไร่ ช่วงราคาผลผลิตตกต่ำก็หันมาเลี้ยงปลา และไก่พื้นบ้านเสริมรายได้
         แต่ก็ยังประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงปลาและไก่สูง เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้อาหารสำเร็จรูปและข้าวเปลือก ทำให้ได้กำไรค่อนข้างน้อย
         ลุงสมปอง พยายามเสาะหาอาหารต้นทุนต่ำมาเลี้ยงสัตว์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นผักบุ้ง ใบมันสำปะหลัง และวัชพืชต่างๆ เป็นต้น แต่คุณค่าอาหารมีน้อย และการจัดการยังยุ่งยากอีกด้วย เขาจึงทดลองนำเมล็ดปาล์ม ที่มีปัญหาเรื่องราคารับซื้อมาให้ไก่และปลากินเป็นอาหาร ปรากฏว่า สัตว์ดังกล่าวชอบและเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
"เมื่อก่อนผมไม่รู้เหมือนกัน สัตว์มันชอบกินเมล็ดปาล์มน้ำมัน แต่สังเกตเห็นไก่มันค่อยจิกกินเปลือก เมล็ดปาล์ม ที่หล่นใต้โค่นต้นเหลือแต่เมล็ด ผมจึงทดลองทุบให้แตกและวางให้ไก่กิน มันชอบมาก และบังเอิญวันหนึ่งเมล็ดปาล์ม เกิดหล่นลงในบ่อปลา ทั้งปลาเล็กปลาใหญ่ต่างก็แย่งกันกินเป็นอาหาร จากวันนั้นเป็นต้นมา ผมไม่ต้องไปเสาะ หาอาหารหรือซื้ออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยงไก่และปลาอีกแล้ว ส่วนใหญ่ผมจะใช้เมล็ดปาล์มที่ทุบ ให้แตกโยน ให้ไก่และ ปลากินเป็นอาหารทุกๆ วัน มันเจริญเติบโตได้ค่อนข้างดีทีเดียว" ลุงสมปอง เล่าถึงเหตุบังเอิญ ที่ค้นพบสูตร อาหารราคาถูกให้ฟัง
พลิกที่นา เป็นไร่นาสวนผสม
         เดิมพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่นา แต่เมื่อปี 2537 ได้เปลี่ยนเป็นไร่นาสวนผสมตามนโยบาย ของรัฐบาลที่สนับสนุน ให้เกษตรกรปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หลายๆ อย่างในพื้นที่เดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาด้านตลาด และต้องการให้เกษตรกร มีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือนด้วย ลุงสมปอง จึงพลิกที่นามาเป็นไร่นาสวนผสม เน้นปลูกพืชไร่ พืชผัก และขุดบ่อเลี้ยงปลา
         "ผมมีพื้นที่อยู่ทั้งหมด 35 ไร่ เดิมทำนาทั้งหมด ก็พอเลี้ยงครอบครัวไปได้ แต่ไม่มีเงินเหลือ จึงตัดสินใจปรับ เปลี่ยนเป็นไร่นาสวนผสม คงเหลือที่นาไว้ประมาณ 2 ไร่ เพื่อปลูกข้าวไว้กินเองและไก่ที่เลี้ยงไว้ด้วย"
ขุดบ่อเลี้ยงปลา 10 ไร่ แบ่งออกเป็น 6 บ่อ มีทั้งบ่อเล็กและใหญ่ ขนาดตั้งแต่ครึ่งไร่ 1 ไร่ และ 5 ไร่ ตามลำดับ 5 ไร่ มี 1 บ่อ นอกนั้นเป็นบ่อขนาดเล็ก ทั้งหมดจะมีท่อน้ำต่อเชื่อมกัน เพื่อไว้สำหรับระบายน้ำทิ้ง 1 เดือน ต่อครั้ง บนขอบบ่อปลูกพืชผัก และปาล์มน้ำมันเกือบเต็มพื้นที่
       "ระยะหลังนี้พืชผักผมจะไม่เน้น หันมาปลูกปาล์มน้ำมันเกือบทั้งหมด เพื่อเก็บผลให้เป็นอาหารสัตว์และ เหลือไว้ขาย ซึ่งแต่ละเดือนทำเงินได้นับหมื่นบาททีเดียว" ลุงสมปอง กล่าว
เลี้ยงปลาหลายชนิด เพื่อประโยชน์ต่อการค้า
         บ่อ 5 ไร่ ของเขาจะปล่อยปลาหลายชนิด อาทิ ปลายี่สก ปลาตะเพียน ปลากดเหลือง ปลาดุก ปลานิล ปลาหมอ และปลาช่อน ฯลฯ ส่วนบ่อ 1 ไร่ และครึ่งไร่ จะซื้อพันธุ์ปลาดุกและปลาแรดมาเลี้ยง เพื่อเสริมรายได้
         "เลี้ยงปลาดุกและปลาแรดนี้ผมจะไม่ใช้เมล็ดปาล์มเป็นอาหาร แต่หากากมะพร้าวตามท้องตลาดมาผสม กับรำ และอาหารเม็ดให้กิน เพราะว่ามันไม่ค่อยชอบ อีกอย่างหนึ่งผมไม่ค่อยมีเวลามากพอที่จะมานั่งทุบ เมล็ดปาล์ม เพื่อให้ปลาดุกและปลาแรดกินเป็นอาหารด้วย"
         สำหรับบ่อ 5 ไร่นั้น เขาจะใช้เมล็ดปาล์มน้ำมันล้วนๆ ไม่มีอาหารอย่างอื่นให้กินเลย
         "บ่อ 5 ไร่นี้ ผมใช้เวลานั่งทุบเมล็ดปาล์มให้แตก เพื่อเป็นอาหารของปลา ประมาณ 2 ชั่วโมง ต่อวัน รวมๆ แล้วเกือบ 20 กิโลกรัม เลยทีเดียว"
         เขาบอกว่า ปลาตะเพียน ปลานิล และปลายี่สก ชอบกินเมล็ดปาล์มมาก ส่วนปลาอื่นๆ ไม่ค่อยชอบ แต่จำใจต้องกิน เพราะว่าเราไม่ได้ให้อาหารชนิดอื่นเลย
          เขานั่งทุบเมล็ดปาล์มน้ำมันบริเวณปากบ่อเลี้ยงตั้งแต่ 8 โมงเช้า จนถึง 10.00 โมง
"ผมเคยซื้อเครื่องจักรมาใช้เหมือนกัน เพื่อประหยัดแรงงาน แต่ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดีเท่าที่ควร สู้มือผมไม่ได้ อีกอย่างหนึ่งการที่เสียเวลานั่งทุบเมล็ดปาล์มนานถึง 2 ชั่วโมง ก็จะทำให้ใกล้ชิดกับปลา สังเกต การกินอาหาร และการเจริญเติบโตด้วย" ลุงสมปองกล่าว
         เขาบอกว่า การเลี้ยงปลาด้วยสูตรอาหารดังกล่าวนี้ประหยัดมาก กล่าวคือ ถ้าซื้ออาหารสำเร็จรูปมาให้กิน ได้ใช้เงินอย่างต่ำวันละ 300 บาท แต่ถ้าใช้เมล็ดปาล์ม 20 กิโลกรัม รวมเป็นเงินแล้วไม่เกิน 100 บาท เท่านั้นเอง
"เรื่องนี้ผมเคยทดลองเหมือนกัน อาหารสำเร็จรูปสิ้นเปลืองเงินมาก และความเจริญเติบโตก็ไม่แตก ต่างกับเลี้ยงปลาด้วยเมล็ดปาล์มน้ำมันเลย"
         ปลาที่เลี้ยงไว้ในบ่อ 5 ไร่ ด้วยเมล็ดปาล์ม เขาจับขายส่งตลาดแต่ละปีเกือบๆ 3 ตัน เลยทีเดียว
"ปลาในบ่อนี้ผม จะเลี้ยงไว้ครบ 10 เดือน จากนั้นก็ทยอยจับขายทุกๆ 2 วัน จนครบ 12 เดือน ก็หยุด และเลี้ยงรุ่นใหม่ต่อไป" คุณสมปอง กล่าว
        สำหรับการจับปลาออกขายนั้นเขาใช้อวนตาห่างขนาด 10 เซนติเมตร ลงไปลาก เพื่อจับปลาตัวใหญ่ขาย ส่วนปลาตัวเล็กเล็ดลอดตาอวน เจริญเติบโตในบ่อต่อไป
       "เมื่อจับปลาได้แล้วจะนำมาพักในกระชังไว้ รุ่งขึ้นตอนเช้าก็นำไปขายต่อในตลาดท้องถิ่น โดยตั้งราคาเอง คือ ปลากดเหลือง 100 บาทต่อกิโลกรัม ปลาดุก 60 บาทต่อกิโลกรัม ปลายี่สก 60 บาทต่อกิโลกรัม ปลาตะเพียนราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม และปลาช่อน 100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี"
เลี้ยงเอง ขายเอง แต่ละปีเขาทำกำไรค่อนข้างมากทีเดียว
        "หากเราขายสินค้าผ่านพ่อค้าหรือแม่ค้าคนกลางมักจะถูกกดราคา แต่ถ้าเราขายเองก็ได้กำไรมาก เหตุที่ผม ทำได้เพราะว่า มีภรรยาช่วยเหลือด้านค้าขาย อีกอย่างหนึ่งผมไม่จับปลาครั้งเดียวหมดบ่อ ทยอยจับทยอยขาย ไปเรื่อยๆ นอกจากปลาที่ขายมันมีหลากหลายลูกค้า หรือผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามใจชอบ บางครั้งก็มีการ สั่งซื้อล่วงหน้าเหมือนกัน รุ่งเช้าขึ้นผมก็จับปลาจากบ่อเลี้ยงไปให้เลย ซึ่งเป็นการบริการที่ไม่มีใครเหมือน และ ทำอย่างต่อเนื่องด้วย ทำให้ทุกวันนี้ผมไม่มีปัญหาเรื่องตลาดรับซื้อเลย" คุณสมปอง กล่าว
เลี้ยงแบบธรรมชาติ ดูแลง่าย
       ในการเลี้ยงปลา เพื่อการค้าของเขานั้นทุกๆ อย่างจะเลียนแบบธรรมชาติ ไม่มีอะไรยุ่งยากเลย โดยเฉพาะบ่อ เลี้ยงปลาเบญจพรรณ 5 ไร่ ดังกล่าว
       "ผมเลี้ยงปลาบ่อนี้มาหลายปีหลายรุ่นแล้ว ไม่เคยล้างบ่อหรือเตรียมบ่ออะไรเลย เพียงแต่ถ่ายน้ำทิ้งออก ไปเดือนละ 1 ครั้ง เท่านั้น โดยจะเปิดน้ำใหม่ไล่น้ำเก่าออกทิ้ง 1 คืน เท่านั้นเอง"
        ลุงสมปอง บอกว่า โชคดีมากที่สวนของเราอยู่ติดกับคลองชลประทาน ดังนั้น ปัญหาเรื่องน้ำจะไม่มีเลย เพียงแต่เปิดวาล์วน้ำก็ไหลเข้าไล่น้ำเก่าทิ้งแล้ว
       "ปลาที่เลี้ยงไว้มันไม่เครียดหรือว่าเป็นโรคให้เห็นเลย เพราะว่าผมเลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติจริงๆ ไม่เคย ใช้ยาหรือสารเคมีใดๆ มาปรับสภาพน้ำเลย"
เขาบอกว่า หลังจากหมดสิ้นฤดูกาลจับปลาทุกปี เราจะซื้อพันธุ์ปลามาปล่อยเพิ่มเข้าไป โดยใช้งบประมาณ ส่วนนี้ไม่เกิน 10,000 บาท
      "จริงๆ แล้ว ปลาพวกนี้มันก็ผสมพันธุ์ออกลูกกันภายในบ่อเลี้ยง แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะว่า มีปลากินเนื้อ พวกปลาชอบปลาดุกอยู่ด้วย ก็จะไล่กินลูกปลาเป็นอาหาร ดังนั้น โอกาสที่ปลาเล็กๆจะเจริญเติบโต เป็นปลาใหญ ่มีน้อย" ลุงสมปอง กล่าว
      เขาติดต่อขอซื้อลูกพันธุ์จากสำนักงานประมง จากนั้นนำมาอนุบาลต่อในกระชังมุ้งเขียวที่สร้างขึ้นไว้ ในบ่อเลี้ยง
"หากเราปล่อยลูกปลาลงไปเลี้ยงในบ่อเลย ก็จะถูกปลาใหญ่ๆ ไล่กินเป็นอาหารเกือบทั้งหมด สู้มาอนุบาล ในกระชังก่อน จนกว่าลูกปลาจะว่ายน้ำแข็งแรง หรือตัวโตขึ้น ซึ่งใช้ระยะเวลาอนุบาลนานอยู่เกือบ 1 เดือน เหมือนกัน"
อาหารที่ใช้อนุบาลลูกปลานั้นส่วนใหญ่เขาจะใช้อาหารสำเร็จรูปผสมกับรำละเอียดหว่านให้กิน วันละ 2-3 ครั้ง
"ลูกปลาพวกนี้หลังจากปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ มันก็เปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารใหม่ โดยกินตามปลาใหญ่ คือ คอยเก็บกินเมล็ดปาล์มน้ำมันต่อไป"
        เลี้ยงนาน 1 ปี ปลารุ่นใหม่ก็จะเจริญเติบโตได้ไซซ์ที่ตลาดต้องการแล้ว นี่เป็นวัฏจักรชีวิตของปลา และอาชีพทำ เงินของลุงสมปอง ผู้ซึ่งมีความสุขกับอาชีพที่เขาเลือก
         "ตอนนี้ผมไม่เคยเครียดเรื่องอาหารหรือราคาปลาจะขึ้นหรือลดลงเลย เพราะว่าผมสามารถแก้ไขปัญหา ได้แล้ว ทั้งระยะสั้นและยาว ไม่มีพ่อค้ารายใดที่จะมากดดันผมได้" ลุงสมปอง กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา : ศุภชัย นิลวานิช วารสาร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” รายงานพิเศษ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 345 หน้า 66




ไม่มีความคิดเห็น: