วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปลาแรด


เล่าเรื่องด้วยภาพ 232 ปลาแรด อร่อย..



    
     





    มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Osphronemus gourami 
    เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มน้ำจืดทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
    เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทย 
    แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ปลาแรดเป็นปลาพื้นบ้านของไทย 
    แต่ก็พบ เห็นปลาแรดมีอยู่ทั่วไปในอ่างเก็บน้ำ หนองบึง และตามสระน้ำของวัด 
    ซึ่งเข้าใจว่ามีผู้นำไปปล่อยในวัด 
    และจากสาเหตุที่พบปลาแรดที่วัดนั้น 
    จึงทำให้ไม่นิยมรับประทานกันเท่าที่ควร 
    ทั้ง ๆ ที่ปลาแรดมีเนื้ออร่อยมาก
    
    
    หอมมาแต่ไกล เลยครับ
    
    
     





    ลักษณะพิเศษของปลาแรด
    
    ปลาแรดเป็นปลาในกลุ่มเดียวกับปลาหมอไทย 
    ซึ่งมีอวัยวะช่วยหายใจ ทำให้อดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี 
    เนื่องจากปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ 
    ว่ายอยู่ประจำที่เสมอ จึงมักมีผู้เลี้ยงปลาแรดไว้ในกระชัง
    เพื่อใช้ตรวจสอบรูรั่วของกระชัง โดยหากกระชังมีรูรั่ว 
    ปลาแรดจะหนีออกจากกระชังได้ 
    แต่จะไม่หนีไปไกลยังคงว่ายวนเวียนอยุ่ในบริเวณนั้น
    จึงเป็นที่สังเกตุได้ดี 
    
    
    
    
     





    การเลี้ยงปลาแรด 
    
             ปลาแรดจัดเป็นปลากินพืชที่ชอบกินพืชน้ำ ไขน้ำ แหน ผักบุ้ง เศษอาหาร 
    ที่เหลือจากโรงครัวและแมลงในน้ำ 
    การเลี้ยงปลาแรดสามารถเลี้ยงได้ในบ่อดินและในกระชัง 
    แต่ที่นิยมเลี้ยง โดยในบ่อจะปล่อยปลาแรดเลี้ยงรวมกับปลากินพืชอื่น ๆ
    ในบ่อที่มีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้น เพื่อให้ปลาแรดกิน เป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว
    สำหรับในกระชังเลี้ยงปลาสวาย ก็ปล่อยปลาแรดลงไป 
    เพื่อทำหน้าที่ยามตรวจกระชังว่ามีรูรั่วหรือไม่
    
    สำหรับการเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงาม 
    นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก 
    เพราะปลาแรดสามารปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบ ๆ ได้
    แต่ก็จะมีอัตรการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างช้า 
    
    
    การเพาะพันธุ์ปลาแรด .
       ปลาแรดที่มีอายุ 3 ปี มีน้ำหนักประมาณ 2- 4 กก. 
    จะสามารแยกเพศ โดยดูจากลักษณะของหัวและสีของฐานครีบหู 
    โดยปลาเพศผู้จะมีหัวโต ที่หน้าผากจะมีก้อนเนื้อสีดำคล้ายนอแรด 
    สีของฐานครีบหูจะเป็นสีขาว ส่วนปลาแรดเพศเมีย 
    หัวจะเล็กและลาด (คล้ายไม่มีหนอ) สีของฐานครีบหูจะมีสีดำ 
    ในฤดูผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนเมษายน - เดือนสิงหาคม 
    ปลาแรดจะจับคู่เองตามธรรมชาติ และสร้างรังวางไข่ 
    รูปร่างของรังคล้ายรังนก ทำด้วยวัสดุที่หาได้ในบ่อ 
    เช่น รากไม้ กิ่งไม้ ฯลฯ มาสานกันเป็นรัง อยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำเล็กน้อย 
    จากนั้นจะผสมพันธุ์วางไข่ในรังไข่ แม่ปลาแรดขนาด 3 กก. 
    จะมีไข่ ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง สามารถวางไข่ได้ 2 -3 ครั้งต่อปี 
    ไข่ปลาแรด เป็นไข่ลอยในรัง ใช้เวลาในการฟัก เป็นตัวในอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส 
    ประมาณ 18-36 ชั่วโมง
    
    
    การเพาะพันธุ์ปลาแรด อาจให้พ่อแม่เลี้ยงดูแลลูกอ่อน 
    หรือย้ายไข่ปลามาฟักในกระชังผ้า ก็ได้ ลูกปลาขนาดเล็กควรเลี้ยงด้วยไรน้ำ
     ลูกน้ำ หรือไข่น้ำ ลูกปลาจะเจริญเติบโตเปลียนรูปร่างจนเหมือน พ่อแม่ได้ใน 1-2 เดือน ครับ
    
     





    ตัวใหญ่มาก
    
    ก่อนจะกลายเป็นอาหารที่หอม กรอบ รสชาดเค็มนิดๆ 
    กับข้าวสวยร้อนๆ เค็มนิด เผ็ดหน่อย 
    
    
    อร่อย..............
    
    
     





    ไปละครับ
     



    ลักษณะ 
    เป็นปลาน้ำจืดและปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่าย แต่เชื่องช้า 
    ผู้เลี้ยงสามารถ ฝึกหัดได้ง่ายโดยวิธีการให้อาหารชอบอยู่ในที่เงียบสงัด 
    เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทน เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ๆ 
    เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessoryrespiratory organ) 
    มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก 
    โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือก
    ในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ 
    ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล 
    ปลากริม ปลากัด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ 
    เป็นปลาที่ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้อง 
    หัวค่อนข้างเล็ก ปากเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ 
    ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก 
    ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง ๑๒-๑๖ อัน 
    ก้านครีบอ่อน ๑๐-๑๑ อัน ครีบแข็ง ๙-๑๓ อัน 
    ก้านครีบอ่อน ๑๗-๑๘ อัน 
    ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง ๑ อัน 
    ก้านครีบอ่อน ๕ อันก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้อง 
    มีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม 
    เกล็ดตามเส้นข้างตัว ๓๐-๓๓ เกล็ด 
    มีจุดดำที่โคนหาง ๑ จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว
    ข้างละ ๘ แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุด 
    ทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น เมื่อโตมีนอที่หัว 
    สีตอนบนของลำตัวค่อนข้างเป็นสีน้ำตาลปนดำ 
    ตอนล่างมีสีน้ำเงินแกม เหลืองส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป 
    
    ถิ่นที่อยู่อาศัย 
    มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย 
    ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำลำคลองหนองบึง 
    
    ความสัมพันธ์ต่อชุมชน 
    แม่น้ำสะแกกรังเป็นแม่น้ำที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา 
    ลักษณะเด่นของแม่น้ำนี้พื้นผิวน้ำจะนิ่งและใต้น้ำจะไหล
    โดยไหลผ่านออกสู่เจ้าพระยาอีกครั้งหนึ่งที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท 
    แม่น้ำสะแกกรังจึงเหมาะแก่การเลี้ยงปลาแรดเป็นอย่างยิ่ง 
    
    ความสำคัญทางเศรษฐกิจ 
    จังหวัดอุทัยธานีมีประชาชนส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในแพแม่น้ำสะแกกรัง 
    จึงนิยมเลี้ยง ปลาแรดในกระชังกันแพร่หลาย
    โดยมีการจัดจำหน่ายตามขนาด เช่น ขนาด ๔ เซนติเมตร 
    ราคาตัวละ ๑๖ บาท ถ้าเป็นขนาดโต กิโลกรัมละ ๘๐ บาท 
    ปลาแรดจะมีอายุที่เหมาะแก่การจำหน่ายประมาณ ๑-๒ ปี 
    โดยมีน้ำหนักประมาณ ๒-๔ กิโลกรัม 
    จึงทำให้ประชากรมีรายได้จากการเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก 
    
    
    
    
     



    เห็นปลาทอดแล้วน้ำลายไหลเลย  
     
โดยคุณ : ตู่ [วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2547 - 07:37:11 น.]



    มีประเภทเผือกด้วยนะครับ
    รูปปลาที่บ้าน แต่ตอนนี้ตายไปแล้ว
     



    - ตู่วันหลังจะถ่ายมาให้น้ำลายหกอีกครับ
    - กาแฟ โอ้ในตู้ก็สวยดี
     




ไม่มีความคิดเห็น: