วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาแรด







การเลี้ยงปลาแรด

ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus goramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และน้ำยา ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่าง ๆ หรือจะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยง ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขาย เป็นปลาเนื้อหรือปลาสวยงาม

แหล่งกำเนิด
ปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเม่น" มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์




อุปนิสัย
ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ เป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่าย โดยวิธีการ ให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็ก มักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทน เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมี ชีวิตอยู่ได้นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

รูปร่าง
ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัดปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมี น้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ แข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตาม เส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อ แต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวค่อนข้างเป็น สีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป

การสืบพันธุ์
1. ลักษณะเพศ ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะเห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ คือ ตัวผู้จะมีนอ (Tubercle) ที่หัวของมันโหนกสูงขึ้นจนเห็นได้ปัดหัวโต ส่วนตัวเมียจะมีโหนกไม่สูงและที่ใต้ฐานของครีบอกตัวเมีย จะมีจุดสีดำ แต่ตัวผู้จะมีแต้มสีขาว ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ปลาตัวผู้จะโตกว่าปลาตัวเมีย ปลาแรดจะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2-3 ปี น้ำหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง/ปี
2. การเพาะพันธุ์ปลา ปลาแรดสามารถวางไข่ได้ตลอดปี แต่จะมีไข่สูงใน ช่วง 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่ การเพาะพันธุ์ จึงควรใส่ฟางหรือหญ้าเพื่อให้ปลาแรดนำไปใช้ในการสร้างรัง รังจะมีลักษณะคล้ายรังนก และจะมีฝาปิดรัง ขนาดรังโดยทั่ว ๆ ไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต ใช้เวลาสร้าง ประมาณ 1 สัปดาห์ การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติในบ่อดิน บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็น บ่อขนาดใหญ่ 1-2 ไร่ อัตราการปล่อยปลาตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:2 จำนวน 100-150 คู่/ไร่ แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง
การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บริเวณพื้นบ่อมีสภาพเป็นโคลน ให้มีหญ้าและพันธุ์ ไม้น้ำขึ้นหนาสักหน่อย พร้อมทั้งหากิ่งไผ่ ผักให้จมอยู่ในน้ำเพื่อใช้เป็นที่สร้างรังพ่อแม่ปลา จะคอยระวังรักษาลูกอ่อนอยู่ใกล้ ๆ รังและจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูที่มารบกวนอย่างเต็มที่ หรือ อาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำแม่น้ำที่ไม่ไหลเชี่ยวมาก ใช้เพาะปลาแรด เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ
3. การฟักไข่ ไข่ปลาแรดเป็นประเภทไข่ลอย (มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร) เมื่อ ปลาแรดวางไข่แล้วนำรังที่มีไข่ขึ้นมาแล้วคัดเฉพาะไข่ดี ควรช้อนคราบไขมันออกมิฉะนั้น แล้ว จะทำให้น้ำเสียและปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ใส่ถังส้วมทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. ให้เครื่องเป่าอากาศเบา ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ หรือฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว กระชังมีรูปร่าง สี่เหลี่ยมขนาด 2 x 1 x 0.5 ใช้หูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระปังดึงคงรูปอยู่ได้ ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในกระชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกได้ มากที่สุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 เซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และยึดติดกับพืชน้ำ ลูกปลาจะเริ่มกิน อาหารในวันที่ 5-7 โดยให้ไข่ชง อายุ 7-10 วัน ให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ ช่วงที่ให้ไข่เป็น อาหาร ควรให้ทีละน้อยในบริเวณที่ลูกปลารวมเป็นกลุ่ม อายุ 10-15 วัน จึงให้ไรแดง ลูกปลาแรด จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย เมื่ออายุได้ 4 เดือน

การอนุบาล
บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา 100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน 1:3 สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้มหรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. เดือนที่จะมีความยาว 2-3 ซม. ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป
แหล่งพันธุ์ปลาแรด เนื่องจากการเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายลูกยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ







การเลี้ยงปลาแรด
สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยมมี 2 ลักษณะคือ
1. การเลี้ยงในบ่อดิน
2. การเลี้ยงในกระชัง
1. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อ ที่ใช้เลี้ยง 1-5 ไร่ จะใช้เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อ จะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืชอื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้นเพื่อให้ ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว
ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจาก โรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวกเป็นอาหาร
การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้ แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว ยังนิยมเลี้ยงในกระชัง เช่น ที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี
2. การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจากกระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่ง ขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง ดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้าง แพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกัน และเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร กระชังขนาดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้ว ได้ 3,000 ตัว
การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000 บาท

โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงปลา ประกอบด้วย
1. โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี .ซี
2. ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทีลิน หรือวัสคุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง
3. ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถ รับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฎิบัติงานบนกระชัง
สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้
- กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี
- กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี
- กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี
บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดี น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยงปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจาก โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคปลา
ข้อจำกัดของการเลี้ยงปลาปลาในกระชัง
1. สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำ ต้องดีมีปริมาณออกซิเจนพอเพียง กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะและไม่เกิดปัญหา โรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยง สถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือ คลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
2. ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็ก หรือเท่ากับขนาดของช่องกระชัง ปลาจะลอดหนีจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไป ติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้
3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อมๆ กันในทันทีที่ให้อาหาร เพื่อให้ปลากินอาหารให้มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง
4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิดปัญหากับปลาที่เลี้ยงยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น

อัตราการปล่อย
จากการทดลองของสมประสงค์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด และให้ผลกำไรมาก คือเลี้ยงบ่อ ขนาด 400 ตารางเมตร ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาท ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือน เท่านั้น

อาหาร
ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบ กินอาหารพวกสัตว์เล็ก ๆ ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัวหนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง แหนจอก ผักกระเฉด ใบมันเทศ ส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้าอ่อน นอกจากนี้ให้ อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้งคราว ก็ให้ผลการเจริญ เติบโตดี ปลาแรดชอบมาก เหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ ปลาจะให้ไข่บ่อย และมีจำนวนเม็ดไข่มากขึ้นอีกด้วย

การเจริญเติบโต
ลูกปลาแรดอายุ 3 เดือน จะมีความยาว 3-5 ซม.
ลูกปลาแรดอายุ 6 เดือน จะมีความยาว 10-15 ซม.
ปลาแรดที่มีอายุ 1 ปี จะมีความยาว 20-30 ซม.
การป้องกัน
ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาตัวปลามีกลิ่นโคลน แต่ถ้าเลี้ยงในกระชังจะไม่มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากน้ำจะถ่ายเทตลอดเวลา สำหรับการแก้ไขกลิ่นเหม็นโคลนในเนื้อปลา โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมทั้งควบคุมคุณภาพน้ำและอาหารที่เลี้ยงปลาในช่วงก่อนจับประมาณ 3 วัน

โรคและศัตรู
โรค การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฎว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือ เชื้อรา
ศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น

การจำหน่าย
ปลาที่มีอายุ 1 ปี จะน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ส่วนปลาที่มีอายุ 3 ปี ควรทำการคัดเลือกปลาที่มีความสมบูรณ์เพื่อเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์

การจับลำเลียง&ขนส่ง
ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะขายลูกปลาให้แก่ผู้ซื้อไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ 2 ขนาด คือ ปลาขนาด 2-3 ซม. ซึ่งใช้เวลาอนุบาล 1 เดือน และปลาขนาด 5-7 ซม. ใช้เวลา อนุบาล 2 เดือน ก่อนการขนส่งจะจับลูกปลามาพักไว้ในบ่อซีเมนต์หรือกระชังแล้วพ่นน้ำ เพิ่มออกซิเจน และงดอาหารประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ลูกปลาเคยจนต่อการอยู่ในที่แคบ และขับถ่ายอาหารที่กินเข้าไปออกให้มากที่สุด การลำเลียงนิยมใช้ถุงพลาสติกขนาด ปริมาณ 20 ลิตร ใส่น้ำ 5 ลิตร บรรจุลูกปลาขนาด 2-3 ซม. ในอัตรา 500-2,000 ตัว/ถุงอัดออกซิเจน หากลูกปลาโตขนาด 5 ถึง 7 ซม. ควรใส่ปีบหรือถังลำเลียงในอัตรา 200-300 ตัว/ปีบ (น้ำ 10-15 ลิตร)
ทั้งนี้ ในระหว่างการลำเลียงควรใส่ยาเหลืองในอัตรา 1-3 ส่วนในล้าน หรือ เกลือในอัตรา 0.1-0.2% เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและป้องกันเชื้อราที่ จะเกิดขึ้นเมื่อปลาเกิดบาดแผลในระหว่างการเดินทาง ก่อนปล่อยปลาลงในที่ใหม่ ต้อง แช่ถุงลำเลียงลูกปลาในน้ำประมาณ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมให้กับลูกปลา

ต้นทุน&ผลตอบแทน
การเลี้ยงปลาแรดให้มีขนาดตลาดต้องการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยการลงทุนประมาณ 30 บาท แต่สามารถจำหน่ายได้ 50-80 บาท

เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับกำไร โดยลงทุน 12,479 บาท กำไร 4,000 บาท คิดเป็นเปอร์เซนต์จะได้กำไร 32 % ซึ่งเป็นเปอร์เซนต์ที่ค่อนข้างสูง

แนวโน้มของการเลี้ยงปลาแรดในอนาคต
การเลี้ยงปลาแรดส่วนใหญ่ได้พันธุ์ ปลามาจากการรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติและการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีธรรมชาติ ในอนาคตหากกรมประมงประสบความสำเร็จในการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์ แล้วปล่อยให้ผสมพันธุ์แบบธรรมชาติได้นับว่าเป็นแนวทางที่ดีเพราะสามารถกำหนดและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ ทั้งยังอาจจะให้ปริมาณไข่มากกว่าด้วย อันจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เลี้ยงปลาแรดได้มีพันธุ์ปลาเพียงพอต่อการเลี้ยง และสนองตอบความต้องการของตลาดผู้บริโภคปลาเนื้อ และปลาสวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น: