วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

พันธุ์ปลาน้ำจืด

h
ปลาแรด

ชื่อไทย
แรด เม่น มิ่น
ชื่อสามัญ
GIANT GOURAMI
ชื่อวิทยาศาสตร์
Osphronemus goramy
ถิ่นอาศัย
ในแม่น้ำและหนองบึงที่มีทางน้ำติดต่อกันกับแม่น้ำ ภาคกลางพบที่แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีและในลำน้ำเจ้าพระยาและสาขา ทางภาคใต้เรียกกันว่า “ ปลาเม่นหรือปลามิน ” พบในลำน้ำตาปีและสาขา
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ปลาหมอ ปลาทุกชนิดที่อยู่ในวงศ์นี้จะต้องมีอวัยวะพิเศษเพื่อช่วยในการหายใจ จึงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ ๆ ได้ ปลาแรดมีรูปร่างด้านข้างแบนส่วนกว้างของลำตัวมีขนาดไล่เลี่ยกับความยาว หัวเล็ก ไม่มีหนวด กระดูกแก้มมีของเป็นจักร เมื่อเอามือจับจะรู้สึกสาก ลักษณะของเกล็ดคล้ายเกล็ดปลาหมอ ครีบหลังและครีบก้นมีก้านเป็นหนามแข็ง ครีบอกมีขนาดเล็ก ก้านครีบเดี่ยวอันหน้าและครีบอกเปลี่ยนรูปเป็นระยางค์ยาว ปลาแรดมีสีสันแตกต่างกันตามขนาดและอายุของปลาคือ ขนาดเล็กความยาว 5 - 7 ซม . ลำตัวมีสีม่วงปนเหลือง และมีแถบสีดำข้างละ 8 แถบ มีจุดสีดำที่โคนหางข้างละจุด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้นสีของลำตัวตอนบนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลด้านล่างเป็นสี ขาวเงินแกมเหลือง การวางไข่ของปลาชนิดนี้แตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น กล่าวคือ มันจะใช้กิ่งไม้ ก้านไม้และวัตถุอื่น ๆ มาสร้างรังคล้ายรังนก ไข่ของปลาชนิดนี้มีขนาดใหญ่ มีไขมันมาก ลอยน้ำ
การสืบพันธุ์
ปลาแรดในแม่น้ำจะวางไข่ในช่วงฤดูแล้ง ส่วนปลาแรดในหนองบึง และบ่อสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยปลาจะวางไข่มาก ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน นอกจากการสอบถามผู้ที่ทำการเพาะพันธุ์ปลาแรด พบว่าปลาแรดที่เพาะขยายพันธุ์ในบ่อซีเมนต์จะวางไข่ได้นานกว่า ปลาแรดที่เพาะในบ่อดิน ปลาแรดเป็นปลาที่มีพฤติกรรมยึดครองพื้นที่และสร้างรังวางไข่ โดยปลาตัวผู้จะเริ่มสร้างรังตามคันบ่อโดยนำหญ้าและวัชพืชน้ำขนาดเล็ก ๆ มาสานเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 - 40 เซนติเมตรมีลักษณะคล้ายรังนก ภายนอกมีลักษณะหยาบ แต่ด้านในเป็นโพรงบุด้วยรากหรือพันธุ์ไม้น้ำอ่อนนุ่ม เมื่อตัวผู้สร้างรังได้ประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของรัง ตัวผู้จะออกไปเลือกจับคู่กับตัวเมียที่มีไข่แก่ให้เข้ามาช่วยสร้างรังต่อจน เสร็จ โดยจะใช้เวลาสร้างรังประมาณ 4 - 7 วัน รังที่สร้างเสร็จแล้วจะมีปากรังอยู่ด้านล่าง ปากรังมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นตัวผู้จะเริ่มการผสมพันธุ์บริเวณใต้รัง โดยใช้ลำตัวรัดรอบส่วนท้องของตัวเมียพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ ไข่ปลาแรดมีไขมันมากจะลอยเข้ารัง เมื่อตัวเมียวางไข่หมดท้อง ตัวผู้จะไล่ออกไปแล้วดูแลไข่ต่อไป
อาหารธรรมชาติ
กินพืชแทบทุกชนิด
การแพร่กระจาย
-
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น: