วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง PDF พิมพ์ อีเมล
ปศุสัตว์
แหล่งกำเนิด
ปลาแรดมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเม่น" มีถิ่นกำเนิดในประเทศ อินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่อง จากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และเลี้ยงงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การ เลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัด อุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การ เพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภค อย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์




ลักษณะโดยทั่วไปปลาแรด

อุปนิสัย

ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้นๆในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ เป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่าย โดยวิธีการ ให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทน เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานๆเพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการ หายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อนๆอยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

รูปร่าง
ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัดปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อ แต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป

ข้อมูลจาก : http://www.rakbankerd.com


แนวโน้มการเลี้ยงปลาแรดในอนาคต

แนวโน้มการเลี้ยงปลาแรดในอนาคต

การเลี้ยงปลาแรดส่วนใหญ่ได้พันธุ์ปลามาจากการรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ

และการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีธรรมชาติ
ในอนาคตหากกรมประมงประสบความสำเร็จในการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์

แล้วปล่อยให้ผสมพันธุ์แบบธรรมชาติได้ก็นับว่าเป็นแนวทางที่ดี
เพราะสามารถกำหนดและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ ทั้งยังอาจจะให้ปริมาณไข่มากกว่าด้วย
อันจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เลี้ยงปลาแรดได้มีพันธุ์ปลาเพียงพอต่อการเลี้ยง และสนองตอบความต้องการของตลาดผู้บริโภคปลาเนื้อและปลาสวยงาม
นอกนากการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง ขณะนี้มีเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลานิลในกระชัง
arropink.gif (11063 bytes)

วัชพืชอาหารชั้นดี


รู้ไว้ก่อนเลี้ยง : วัชพืชอาหารชั้นดี "ปลาแรด" (3)
ทีนี้มาว่ากันถึงการอนุบาลลูกปลาแรด ซึ่งบ่ออนุบาลลูกปลา ควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา 1 แสนตัวต่อไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัวต่อตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่น อัตราส่วน 1 ต่อ 3 สาดให้ทั่วบ่อ
หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้มหรืออาหารเม็ดลอยน้ำ วันละประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ต้องอนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ซึ่งลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เดือนที่ 2 จะมีความยาว 2-3 เซนติเมตร ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่นำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป
แต่เนื่องจากขณะนี้การเพาะพันธุ์ปลาแรดเพื่อจำหน่ายลูกยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติมากกว่า ทำให้เกษตรกรที่สนใจอยากจะเลี้ยงปลาชนิดนี้ ค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องพันธุ์ปลา
ส่วนการเลี้ยงที่นิยมของเกษตรกรนั้น จะมี 2 ลักษณะคือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินนั้นจะมีอัตราปล่อย 1 ตัวต่อตารางเมตร ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง 1-5 ไร่ จะใช้เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
การเลี้ยงในบ่อดินนั้นสามารถปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืชอื่นๆ ได้ ถ้าให้ดีในบ่อจะต้องมีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้น เพื่อให้ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว เพราะปลาชนิดนี้ชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวก เป็นอาหาร
แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เลี้ยงปลาชนิดนี้เพื่อความสวยงาม โดยจะนิยมเลี้ยงในบ่อซีเมนต์หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้ แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า นอกจากเลี้ยงในบ่อดินแล้ว ยังนิยมเลี้ยงในกระชัง อย่างที่แม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำจะนิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้กันมาก
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันการเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยนจากกระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน ซึ่งเหมาะสมกับภาวะปัจจุบันที่ขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง ดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้างแพ พร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด
โดยแพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกันและเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก โดยกระชังตาข่ายนั้นจะมีขนาดกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร ซึ่งกระชังขนาดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้ว ได้ถึง 3,000 ตัว



โครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

 โครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
โครงการพัฒนาประมงพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1. กิจกรรมวิจัยและสาธิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ทำการปรับปรุงบ่อกุ้งกุลาดำของเกษตรกรโดยคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม บ่อขนาด 2 ไร่ จำนวน 4 ราย 4 บ่อ พื้นที่รวมรวม 8 ไร่ ปล่อยกุ้งก้ามกรามในอัตรา 50,000 ตัว/ไร่ โดยซ่อมแซม และปรับปรุง ระบบน้ำเข้าน้ำออกบางส่วน ดำเนินการวิจัยและทดลองการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยศึกษาข้อมูลการเจริญเติบโต การให้อาหาร ระยะเวลาการเลี้ยง ผลผลิต และต้นทุน ผลตอบแทนของการเลี้ยงทั้งหมดในบ่อที่เคยเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาก่อน ผลการศึกษามีดังนี้
ตารางที่ 1  การเจริญเติบโตและผลผลิตกุ้งก้ามกรามในบ่อดินของเกษตรกร อำเภอปากพนังและอำเภอ  เชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 
1.       ขนาดกุ้งที่ปล่อย(ซม.)
2.       อัตราการปล่อย (ตัว/ไร่)
3.       ระยะเวลาเลี้ยง (วัน)
4.       อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (% กรัม / วัน)
5.       ผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่)
6.       อัตรารอดตาย(%)
7.       ขนาดกุ้งที่จับได้(ตัว/กิโลกรัม)
8.       อัตราการแลกเนื้อ(FCR)
2.3
50,000
120
6.33
450
45.50
50
1.75
 ตารางที่ 2  ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในบ่อดินขนาด 1 ไร่
1.       ค่าพันธุ์กุ้งก้ามกราม (บาท)
2.       ค่าอาหารกุ้งก้ามกราม (บาท)
3.       ค่าปูนขาวและยารักษาโรค (บาท)
4.       ค่าแรงและอื่นๆ (บาท)
5.       ราคาขายกุ้งก้ามกราม (บาท/ไร่)
6.       รายได้ทั้งหมด (บาท/ไร่)
7.       กำไรเบื้องต้น (บาท)
7,500
27,500
1,800
2,550
120
54,000
14,650
 ข้อเสนอแนะ
    1.  ควรส่งเสริมเฉพาะเกษตรกรก้าวหน้า ที่มีเงินทุนของตนเองเพียงพอ
    2.  บ่อควรอยู่ติดกับคลองส่งน้ำ สามารถถ่ายเปลี่ยนน้ำได้ตลอดการเลี้ยง
    3.  ควรพัฒนาระบบการอนุบาลและการเลี้ยงกุ้งแบบย้ายบ่อและทยอยจับ
    4.  การเลี้ยงกุ้งครั้งนี้ มีอัตราการรอดตายต่ำ เนื่องจากการลำเลียงและต่อมามีฝนตกหนักในขณะที่กุ้งอยู่ระหว่างการลอกคราบ
2. กิจกรรมการวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลากดเหลือง
               ปรับปรุงบ่อกุ้งของเกษตรกร โดยทำการคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมบริเวณประตูระบายน้ำเชียรใหญ่ บ่อขนาด 1 ไร่ ขึ้นไป จำนวน 5 ราย 5 บ่อ โดยซ่อมแซมและปรับปรุงระบบน้ำเข้าออก หรือพื้นบ่อ พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์ฟาร์มบางส่วน ดำเนินการวิจัยและทดสอบเลี้ยงปลากดเหลือง โดยดำเนินการศึกษาวิจัยทดสอบถึงรูปแบบที่เหมาะสม
     1.  การพัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์ และการอนุบาลลูกปลากดเหลืองเป็นปลานิ้ว
     2.  การอนุบาลลูกปลาลูกปลากดเหลืองจากปลานิ้วเป็นปลารุ่น
     3.  การเลี้ยงปลารุ่นเป็นปลาขนาดตลาด (250 กรัมขึ้นไป)
                 โดยการศึกษาข้อมูลการเจริญเติบโต ชนิดและการให้อาหาร ระยะเวลาการเลี้ยง ผลผลิตและต้นทุน ผลตอบแทนของการผลิตทั้งหมด ตลอดจนการเลี้ยงในระบบไร่นาสวนผสมผลการศึกษามีดังนี้
ตารางที่ 3  การเจริญเติบโตและผลผลิตการเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน 
1.       ขนาดปลาที่ปล่อย (ซม.)
2.       อัตราการปล่อย (ตัว/ไร่)
3.       ระยะเวลาเลี้ยง (วัน)
4.       อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (%กรัม/วัน)
5.       ผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่)
6.       อัตรารอดตาย (%)
7.       ขนาดปลาที่จับได้ (ตัว/กิโลกรัม)
8.       อัตราการแลกเนื้อ (FCR)
5.0
7,700
180
2.51
637
73.5
5.5
1.72
 ตารางที่ 4  ต้นทุนรายได้ และผลตอบแทนการเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 1 ไร่ 
1.       ค่าพันธุ์ปลา (บาท)
2.       ค่าอาหารปลา (บาท)
3.       ค่าปูนขาวและยารักษาโรค (บาท)
4.       ค่าแรงงานและอื่นๆ (บาท)
5.       ราคาขายปลีก (บาท / กิโลกรัม)
6.       รายได้ทั้งหมด (บาท / ไร่)
7.       กำไรเบื้องต้น  (บาท)
7,700
19,720
1,800
2,550
80
50,950
19,180
ข้อเสนอแนะ
     1.  ควรส่งเสริมเฉพาะเกษตรกรที่มีบ่อริมคลองส่งน้ำ สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้
     2.  ควรพัฒนาระบบการลำเลียงและการจัดจำหน่ายปลามีชีวิต
     3.  อาหารปลามีราคาสูงมาก ควรใช้ปลาสดผสมรำละเอียดสลับกับการใช้อาหารเม็ด
3.  กิจกรรมการวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลาสลิด
               ปรับปรุงบ่อกุ้งของเกษตรกรเพื่อเลี้ยงปลาสลิด โดยทำการคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมบริเวณประตูระบายน้ำสุขุมและประตูระบายน้ำเชียรใหญ่ บ่อขนาด 1 ไร่ ขึ้นไป จำนวน 8ราย 8บ่อ โดยซ่อมแซมและปรับปรุงระบบน้ำเข้าออก หรือพื้นบ่อพร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์ฟาร์มบางส่วน ดำเนินการวิจัยและทดสอบการวิจัยและทดสอบการเลี้ยงปลาสลิด โดยดำเนินการศึกษาวิจัยและทดสอบถึงรูปแบบที่เหมาะสม ทั้งการเลี้ยงปลาสลิดชนิดเดียว และการเลี้ยงรวมกับปลาเศรษฐ์กิจชนิดอื่น  และการเลี้ยงปลาในระบบไร่นาสวนผสม โดยศึกษาข้อมูลการเจริญเติบโต ชนิดและการให้อาหาร ระยะเวลาการเลี้ยง ผลผลิและต้นทุน ผลตอบแทนของการผลิตทั้งหมด ดังนี้
ตารางที่ 5  การเจริญเติบโตและผลผลิตการเลี้ยงปลาสลิดในบ่อดิน
      1.  ขนาดปลาที่ปล่อย (ซม.)
      2.  อัตราการปล่อย (ตัว/ไร่)
      3.  ระยะเวลาเลี้ยง (วัน)
      4.  อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (% กรัม / วัน)
      5.  ผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่)
      6.  อัตรารอดตาย (%)
      7.  ขนาดปลาที่จับได้ (ตัว / กิโลกรัม)
      8.  อัตราการแลกเนื้อ (FCR)
5.0
3,000
180
1.65
235.5
78.5
10
1.75
 ตารางที่ 6 ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนการเลี้ยงปลาสลิดในบ่อดินขนาด 1 ไร่ 
      1.ค่าพันธุ์ปลา (บาท)
      2. ค่าอาหารปลา (บาท)
      3. ค่าปูนขาวและยารักษาโรค (บาท)
      4. ค่าแรงงานและอื่นๆ (บาท)
      5. ราคาขายปลา (บาท / กก.)
      6. รายได้ทั้งหมด (บาท / ไร่)
      7. กำไรเบื้องต้น (บาท)
1,200
4,950
800
2,550
50
11,775
2,275
 ปัญหาและข้อเสนอแนะ
                 1.   บ่อปลาในพื้นที่ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว น้ำมีฤทธิ์เป็นกรดรุนแรง ค่า pH ระหว่าง 4.0 – 5.0 เนื่องจากเป็นดินเปรี้ยว จำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับปรุงคุณภาพดินและน้ำก่อนการปล่อยปลา
                 2.   ควรเน้นการเลี้ยงปลาสลิดร่วมกับปลาหมอไทยพื้นบ้านแบบหลายชนิดในบ่อเดียวกัน และควรปล่อยปลารุ่น เพื่อให้อัตราการรอดตายสูงและใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้นลง ช่วงเวลาที่เหมาสม ควรอยู่ระหว่างกลางเดือนเมษายน ถึงปลายเดือนกันยายนของปี
                 3.   การก่อสร้างบ่อปลา ควรเป็นลักษณะบ่อล่อปลาหรือในร่องสวน/ไร่นาสวนผสมหรือรูปแบบการเลี้ยงปลาในนาข้าว
 4.  กิจกรรมวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลาหมอไทย
              ปรับปรุงการบ่อกุ้งของเกษตรกร โดยทำการคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุรสมบัติที่เหมาะสมบริเวณประตูน้ำบางไทรและประตูน้ำสุขุม ในอำเภอปากพนัง บ่อขนาด 0.5 – 2.0 ไร่ จำนวน 7 ไร่ 7 บ่อ โดยซ่อมแซมและปรับปรุงระบบน้ำเข้าออก หรือพื้นบ่อพร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์ฟาร์มบางส่วน ดำเนินการวิจัยและทดสอบถึงรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์และการอนุบาลลูกปลาหมอไทย และการเลี้ยงปลาหมอไทยเป็นปลาขนาดตลาดโดยศึกษาข้อมูลการเจริญเติบโต ชนิดการให้อาหาร ระยะเวลาการเลี้ยง ผลผลิตและต้นทุน ผลตอบแทนของการผลิตทั้งหมด ตลอดจนการเลี้ยงในระบบไร่นาสวนผสม
ตารางที่ 7 การเจริญเติบโตและผลผลิตการเลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดินของเกษตรกร 
      1.  จำนวนพ่อแม่พันธุ์ที่ปล่อย (คู่ /ไร่)
      2.  ปริมาณลูกปลาขนาด 1 นิ้ว (ตัว / ไร่)
      3.  ระยะเวลาเลี้ยง (วัน)
      4.  อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (% กรัม/ วัน)
      5.  ผลผลิต (กิโลกรัม/ ไร่)
      6.  อัตราการรอดตาย (%)
      7.  ขนาดปลาที่จับได้(ตัว/กิโลกรัม)
      8.  อัตราการแลกเนื้อ
40
40,000
130
3.95
1,200
40
8-14
1.5
 ตารางที่ 8 ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนการเลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดินขนาด 1 ไร่ 
      1.  ค่าพ่อแม่พันธุ์ปลา (บาท)
      2.  ค่าอาหารปลา (บาท)
      3.  ค่าปูนขาวและยารักษาโรค (บาท)
      4.  ค่าแรงและอื่นๆ(บาท)
      5.  ราคาขายปลา (บาท/กก.)
      6.  รายได้ทั้งหมด (บาท/ไร่)
      7.  กำไรเบื้องต้น (บาท)
1,000
36,000
3,500
3,000
50
60,000
16,500

ข้อเสนอแนะ

    1.  ควรจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาหมอไทยและควบคุมปริมาณการเลี้ยง
    2.  ควรพัฒนาวิธีการจัดการบ่อเพื่อป้องกันละรักษาโรคพัฒนาระบบการลำเลียงและการตลาด
    3.  เร่งรัดงานวิจัยพัฒนาสายพันธุ์ปลาหมอไทย
    4.  ขาดแคลนแหล่งน้ำจืดและน้ำมีความเค็มสูง ทำให้ผลผลิตปลาหมอไทยเสียหาย
5. กิจกรรมวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดิน
              ดำเนินการวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดิน ที่เคยเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาก่อน จำนวน 4 ราย 4 บ่อ ในอำเภอปากพนังและอำเภอเชียรใหญ่ ทั้งการอนุบาลปลานิ้วจำหน่ายเป็นปลารุ่น และการเลี้ยงปลากะพงขาวชนิดเดียวแบบหนาแน่น ใช้เวลาการศึกษา 6 เดือน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิตและการจำหน่ายผลผลิต ข้อมูลอยู่ระหว่างการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมผล
6.  กิจกรรมวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน
              ดำเนินการวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน ที่เคยเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาก่อน จำนวน 12 ราย 12 บ่อ ในอำเภอปากพนังและอำเภอเชียรใหญ่ ดำเนินการวิจัยและทดสอบการถึงรูปแบบที่เหมาะสม ทั้งการเลี้ยงปลาแรดชนิดเดียว การเลี้ยงรวมกับปลาเศรษฐ์กิจชนิดอื่นและการเลี้ยงปลาในระบบไร่นาสวนผสม เวลาศึกษา 12 เดือน โดยศึกษาข้อมูลการเจริญเติบโต ชนิดและการให้อาหาร ระยะเวลาการเลี้ยงผลผลิตและต้นทุน ผลตอบแทนของการผลิตทั้งหมด ข้อมูลอยู่ระหว่างการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
7.  กิจกรรมวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลาในนาข้าว
              ดำเนินการวิจัยและสาธิตการเลี้ยงปลากินพืชร่วมกันหลายชนิดในนาข้าว จำนวน 5 ราย 5 บ่อ ในอำเภอปากพนังและอำเภอเชียรใหญ่ ดำเนินการวิจัยและทดสอบผลผลิตการเลี้ยงปลาตะเพียนขาว ปลาไน ปลานิลและปลาดุกอุยเทศในนาข้าว พบว่ามีผลผลิตปลา ประมาณ240 กิโลกรัม / ไร่
8.  กิจกรรมวิจัยการเลี้ยงปลาในกระชัง
                คัดเลือกเกษตรกร ที่มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรผู้นำที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำปากพนัง ในอำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอชะอวด จำนวน 35 ราย 35 กระชังสนับสนุนกระชังเลี้ยงปลาขนาด 35353 เมตร ทำการเลี้ยงปลากดเหลืองขนาดเฉลี่ย 200กรัม และสาธิตการเลี้ยงปลาในกระชังทุ่นลอย ขนาด 45352 เมตร เพื่อทดสอบการเลี้ยงปลาเศรษฐ์กิจอื่นๆ เช่นปลากดเหลือง ปลานิล ปลานิลแดง ปลายี่สกเทศ ปลาตะเพียนขาว และปลากะพงขาว โดยศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการเจริญเติบโต การให้อาหาร ระยะเวลาการเลี้ยง ผลผลิตและต้นทุน ผลตอบแทนของการผลิตทั้งหมด ผลศึกษาดังนี้
ตารางที่ 9 แสดงผลการเลี้ยงปลาในกระชังทุ่นลอย ขนาด 45352 เมตรในแม่น้ำปากพนัง 

ชนิดปลา

กดเหลือง
กะพงขาว
นิลแดง
ตะเพียนขาว
ยี่สกเทศ
ขนาดปลา (กรัม)
อัตราการปล่อย (ตัว/กระชัง)
ระยะเวลา (วัน)
ขนาดจับ (ตัว/กก.)
ผลผลิต (กก./กระชัง)
ราคาจำหน่าย (บาท/กิโลกรัม)
รายได้ (บาท/กระชัง)
ค่าพันธุ์ปลา (บาท)
ค่าอาหารปลา (บาท)
กำไรเบื้องต้น (บาท/กระชัง)
200
600
100
3
170
80
13,600
4,800
2,500
6,300
100
300
130
3
90
100
9,000
3,000
3,000
3,000
100
300
150
3
90
50
4,500
750
1,300
2,400
100
300
150
4
60
40
2,400
600
700
1,100
100
300
150
4
60
40
2,400
600
600
.1,200

ข้อเสนอแนะ

                 1.  ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม น้ำมีความเค็มระหว่าง 10 –20 ppt.

                 2.  ช่วงกลางเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม เป็นฤดูฝน น้ำหลากและไหลเชี่ยวแรง

                 3.  ช่วงกลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม มีปรสิตปลาระบาดมาก

                 4.  สามารถเลี้ยงปลากะพงขาวได้ดี ระหว่างเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน ส่วนปลาน้ำจืด สามารถเลี้ยงได้ดี ระหว่างปลายเดือน มิถุนายน ถึงเดือนสิ่งหาคม

ที่มา    รายงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กันยายน  2542 กรมประมง